จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1551, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดจงกอ นครราชสีมา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, เรื่อง-การรังวัดที่ดิน, เรื่อง-การปักปันเขตแดน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวีรวรมัน, บุคคล-พระเจ้าชัยวีรวรมัน,

จารึกวัดจงกอ

จารึก

จารึกวัดจงกอ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2550 09:39:24 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2566 16:12:43 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดจงกอ

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1551

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 30 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 34 ซม. สูง (จากพื้นซีเมนต์ถึงตำแหน่งสูงสุด) 51 ซม. หนา 6.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2549) กำหนดเป็น “จารึกวัดจงกอ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดจงกอ (เดิมเป็นวัดร้าง) เขตบ้านน้อย หมู่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงวัดจงกอ

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลาด้านข้างขวามือพระประธานในอุโบสถ วัดจงกอ (เดิมเป็นวัดร้าง) เขตบ้านน้อย หมู่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (สำรวจข้อมูลวันที่ 21 มกราคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2549) : 30-35.

ประวัติ

จารึกวัดจงกอ เป็นจารึกที่พบใหม่ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง เป็นผู้ส่งข้อมูลมาให้กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก เมื่อ 24 สิงหาคม 2548 ระบุว่า เป็นจารึกพบที่วัดจงกอ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ในเขตบ้านน้อย หมู่ 7 ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา และพัฒนาตั้งเป็นวัดขึ้นใหม่ โบสถ์ยังไม่มีฝาผนัง ก่อเป็นห้องเล็กๆ มีหลังคา มีพระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี จารึกที่กล่าวถึงนี้ ปักอยู่บนฐานชุกชี ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปประธาน ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงวัดเล่าเหมือนกันว่า เป็นจารึกของเก่า พบในบริเวณวัดนานมาแล้ว เป็นของอยู่กับวัดไม่น้อยกว่า 2 ช่วงอายุคน

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงพระบรมราชโองการ ธุลีพระบาทกมรเตงกำตวนอัญศรีชยวีรวรมันเทวะ ดำรัสสั่งให้ข้าราชการดำเนินการวัดที่ดิน และปักศิลาจารึกเพื่อถวายแก่กมรเตงชคตวิมาย กำหนดเขตศาสนสถาน และอุทิศข้าพระจำนวนมาก ดังมีรายชื่อปรากฏในจารึก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุมหาศักราช 930 ตรงกับพุทธศักราช 1551 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 1545-1593)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และเอมอร เชาวน์สวน, “จารึกวัดจงกอ,” ศิลปากร 49, 2 (มีนาคม-เมษายน 2549) : 30-35.
2) อุไรศรี วรศะริน, “ประวัติศาสตร์กัมพูชา,” ใน ประชุมอรรถบทเขมร : รวมบทความวิชาการ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อุไรศรี วรศะริน (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2545), 47-98.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2549)