อายุ-จารึก พ.ศ. 2067, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา-สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2, วัตถุ-จารึกบนสำริด, ลักษณะ-จารึกบนระฆัง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในวัดดอนรัก สงขลา, เรื่อง-การบริจาคและทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและทำบุญ-สร้างระฆัง, บุคคล-เจ้าพระยาอู๋เหวินเยิ่น ,
โพสต์เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2550 10:34:38 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 22:50:45 )
ชื่อจารึก |
จารึกภาษาจีนที่ระฆังโบราณวัดดอนรัก |
อักษรที่มีในจารึก |
จีน |
ศักราช |
พุทธศักราช 2067 |
ภาษา |
จีน |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
ลักษณะวัตถุ |
ระฆัง |
ขนาดวัตถุ |
สูงประมาณ 50 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
ในหนังสือ อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ กำหนดเป็น “จารึกภาษาจีนที่ระฆังโบราณวัดดอนรัก” |
ปีที่พบจารึก |
พ.ศ. 2511 |
สถานที่พบ |
ข้างหอระฆังของวัดดอนรัก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ข้อมูลเดิมระบุว่าอยู่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา สำรวจแล้วไม่พบจารึกดังกล่าว (สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2561) |
พิมพ์เผยแพร่ |
อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ ([กรุงเทพฯ] : ทายาทตระกูลรัตนปราการ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2528), [10-12]. |
ประวัติ |
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส สงขลา มีระฆังโบราณใบหนึ่ง ขนาดสูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีจารึกภาษาจีน ระฆังใบนี้มีผู้ขุดพบที่ข้างหอระฆังของวัดดอนรัก อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อ พ.ศ. 2511 ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2513 คุณสุชาติ รัตนปราการ ได้นำไปถวายให้ราชศีลสังวรเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความจารึกระบุชื่อผู้สร้างระฆัง คือ เจ้าพระยาอู๋เหวินเยิ่น |
ผู้สร้าง |
เจ้าพระยาอู๋เหวินเยิ่น |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกระบุชื่อกษัตริย์ คือ “จาชิ่น” พระเจ้าจาชิ่นนี้ เป็นกษัตริย์ราชวงศ์หมิง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2065-2110 ข้อความจารึกระบุว่าระฆังนี้สร้างในปีที่ 3 ของรัชกาล จึงน่าจะตรงกับ พ.ศ. 2067 อยู่ในช่วงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : อนุสรณีย์ สุชาติ รัตนปราการ ([กรุงเทพฯ] : ทายาทตระกูลรัตนปราการ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2528) |