จารึกวัดใต้เทิง 1

จารึก

จารึกวัดใต้เทิง 1

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2550 14:59:03 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:59:54 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดใต้เทิง 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อบ. 13

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2353

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 34 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 20 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้ ประเภทสักทอง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 55 ซม. สูง 143 ซม. หนา 9 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 13”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2516) กำหนดเป็น “จารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 และ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดใต้เทิง 1”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/47/2560”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2511

สถานที่พบ

วัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้พบ

พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2514) : 84-91.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 263-269.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 399-404.

ประวัติ

จารึกวัดใต้เทิง 1 นี้ พระศรีจันทราคุณ เจ้าอาวาสวัดใต้เทิง (ปัจจุบันคือ วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบให้กรมศิลปากรในคราวที่นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น เดินทางไปตรวจราชการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงอัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา พร้อมด้วยลูกศิษย์และญาติโยม, พระพรหมวรราชวงศาภูมินทร์ เจ้าเมืองอุบลฯ และบรรดาเสนาอมาตย์ มีศรัทธาสร้างวิหารและพระพุทธรูปไว้กับศาสนา

ผู้สร้าง

อัครวรราชครูปุสสีตธรรมวงศา

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 1192 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2373 อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2367-2394)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, “คำอ่านจารึกบนไม้สัก อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย,” ศิลปากร 15, 3 (กันยายน 2514) : 84-91.
2) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, “จารึกวัดใต้เทิง 1,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 263-269.
3) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดใต้เทิง 1,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 399-404.
4) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542), 91-128.
5) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 309-330.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)