จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกพระเจ้าอินแปง

จารึก

จารึกพระเจ้าอินแปง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2550 16:50:28 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2566 19:42:39 )

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าอินแปง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อบ. 11, ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./14, จารึกวัดป่าใหญ่ 2

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2350

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 24 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 60 ซม. สูง 59 ซม. หนา 19 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 11”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2506) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./14”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกพระเจ้าอินแปง”
4) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดป่าใหญ่ 2”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2520

สถานที่พบ

วัดมหาวนาราม​ พระอารามหลวง (วัดป่าใหญ่) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารพระเจ้าอินแปง วัดมหาวนาราม​ พระอารามหลวง (วัดป่าใหญ่) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 6 (มกราคม 2524) : 56-64.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 253-257.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 372-376.

ประวัติ

จารึกพระเจ้าอินแปงนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วิหารพระเจ้าอินแปง วัดมหาวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2520

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงนามเจ้าเมืองอุบลสองพระนาม คือ พระปทุม และพระพรหมวรราชสุริยวงศ์และนามพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา ว่าได้สร้างวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี (วัดป่าใหญ่) และสร้างพระพุทธรูปอินแปง พร้อมทั้งได้อุทิศทาสโอกาสและที่นาจังหันแก่พระพุทธรูปด้วย

ผู้สร้าง

พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 6 ระบุ จ.ศ. 1169 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2350 อันเป็นสมัยที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (พรหม) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศราชขึ้นต่อราชอาณาจักรไทย ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2352)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542), 91-128.
2) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “จารึกพระเจ้าอินแปง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 253-257.
3) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./14,” ศิลปากร 24, 6 (มกราคม 2524) : 56-64.
4) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดป่าใหญ่ 2,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 372-376.
5) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 261-287.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)