จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระเจ้าอินแปง

จารึก

จารึกพระเจ้าอินแปง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:29

ชื่อจารึก

จารึกพระเจ้าอินแปง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อบ. 11, ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง อบ./14, จารึกวัดป่าใหญ่ 2

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2350

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 24 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

1) เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)
2) ธวัช ปุณโณทก (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2524), (พ.ศ. 2529)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ธวัช ปุณโณทก : 149 = จ.ศ. 1149 ตรงกับ พ.ศ. 2330
2. ธวัช ปุณโณทก : ปีเมิงมด = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับ ปีมะแม นพศก ภาคกลาง
3. นวพรรณ ภัทรมูล : เมิง = เมือง
4. ธวัช ปุณโณทก : 142 = จ.ศ. 1142 ตรงกับ พ.ศ. 2323
5. นวพรรณ ภัทรมูล : เดิน = เดือน
6. ธวัช ปุณโณทก : 154 = จ.ศ. 1154 ตรงกับ พ.ศ. 2335
7. ธวัช ปุณโณทก : ปีเต่าสัน = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับปีวอก จัตวาศก ภาคกลาง
8. ธวัช ปุณโณทก : 167 = จ.ศ. 1167 ตรงกับ พ.ศ. 2348
9. ธวัช ปุณโณทก : ปีรวงเล้า = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับปีวอก จัตวาศก ภาคกลาง
10. ธวัช ปุณโณทก : ร้อย 69 = จ.ศ. 1169 ตรงกับ พ.ศ. 2350
11. ธวัช ปุณโณทก : ปีเมิงเม้า, เมิงเหม้า = ชื่อปีตามปฏิทินหนไทย ตรงกับ ปีเถาะ นพศก ภาคกลาง
12. ธวัช ปุณโณทก : ชทาย, ชะทาย = ปูนสอ, ปูนขาวที่ใช้โบกอิฐ
13. ธวัช ปุณโณทก : มื้อรวงไก๊, มื้อรวงไค้ = ชื่อวันตามปฏิทินหนไทย
14. ธวัช ปุณโณทก : ยามแถใกล้ค่ำ = คือเวลาประมาณ 15.00 - 16.30
15. ธวัช ปุณโณทก : ลำแยง, ล่ำแยง = ดูแลรักษา, สอดส่องดูแล
16. ธวัช ปุณโณทก : อนาลายอนตาย, อนารายอันตาย = อันตราย
17. ธวัช ปุณโณทก : มงคุร, มุงคุน = มงคล
18. นวพรรณ ภัทรมูล : ตน = รูป (ลักษณนามของพระสงฆ์), องค์, พระองค์
19. ธวัช ปุณโณทก : ทอด = ยกให้, มอบให้
20. ธวัช ปุณโณทก : ข้าโอกาส = ทาสที่อุทิศให้กับวัด
21. ธวัช ปุณโณทก : ซาว 3 = ยี่สิบสาม (ซาว = ยี่สิบ)
22. ธวัช ปุณโณทก : ใผ, ไผ = ใคร, ผู้ใด
23. ธวัช ปุณโณทก : เวียก = งาน, การงาน
24. ธวัช ปุณโณทก : ฝูง = พวก, หมู่
25. ธวัช ปุณโณทก : คบรบ = เคารพ
26. ธวัช ปุณโณทก : สีลาเลก, ศิลาเลก = ศิลาจารึก
27. ธวัช ปุณโณทก : ข่อย, ข้อย = ข้าโอกาส
28. ธวัช ปุณโณทก : เยิงใดเยิงหนึ่ง, เยื่องใดเยื่องหนึ่ง = อย่างใดอย่างหนึ่ง
29. ธวัช ปุณโณทก : คำใส = ความเลื่อมใส
30. ธวัช ปุณโณทก : ท่ง = ทุ่งนา
31. ธวัช ปุณโณทก : ทางรี = ทางด้านยาว
32. ธวัช ปุณโณทก : จุ = ถึง, จด
33. ธวัช ปุณโณทก : เรด, เฮ็ด = ทำ
34. นวพรรณ ภัทรมูล : คำอ่านที่อ่านโดย “โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย” นี้ อ่านโดยอาศัยคำอ่านเดิมของอาจารย์เทิม มีเต็ม และอาจารย์ธวัช ปุณโณทก ฉะนั้นจึงมิใช่การอ่านใหม่ เพียงแต่แก้ไขในส่วนของเครื่องหมายให้ถูกต้องตามระบบการอ่านจารึก