จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง 1 (หนองคาย)

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง 1 (หนองคาย)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2550 16:35:16 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2566 16:25:45 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง 1 (หนองคาย)

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2201

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ

หน้าตักกว้าง 4 นิ้ว เฉพาะส่วนที่เป็นจารึกกว้าง 6 นิ้ว สูง 5 นิ้ว

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง 1”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ในอุโบสถวัดศรีบุญเรือง ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ในอุโบสถวัดศรีบุญเรือง ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 343.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ที่วัดศรีบุญเรืองมาแต่เดิม

เนื้อหาโดยสังเขป

นางแสนเพชร และนางฮีน ได้ถวายข้าโอกาสไว้กับพระพุทธรูปทององค์นี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ ศักราช 20 คือ จ.ศ. 1020 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2201 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2181-2238)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง 1,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 343.
2) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 117-126.