จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3

จารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 14:17:16 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 15:31:33 )

ชื่อจารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2404

ภาษา

ไทย

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะการถูกพับไปมาเช่นเดียวกับสมุดไทย

ขนาดวัตถุ

กว้าง 6.5 ซม. ยาว 140 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในวารสาร รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ ฉบับที่ 12 (ก.พ. 2533) กำหนดเป็น "พระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไปยังพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอจดหมายเหตุ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

พิมพ์เผยแพร่

วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ ฉบับที่ 12 (ก.พ. 2533).

ประวัติ

ประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย มีหนังสือถึงกระทรวงต่างประเทศ ขอให้ติดต่อกับฝรั่งเศสให้ถ่ายภาพจารึกนี้ส่งมายังประเทศไทย จากนั้นได้มอบภาพถ่ายดังกล่าวให้ อาจารย์ แม้นมาส ชวลิต ผู้อำนวยการกองหอสมุดแห่งชาติซึ่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ ได้แก่ นางสาว ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นางสาว วิยะดา ทาสุคนธ์ นักภาษาโบราณ 4 (ในขณะนั้น) เป็นผู้อ่าน ต่อมาสมาคมประวัติศาสตร์ได้จัดพิมพ์คำอ่านจารึกนี้เผยแพร่ใน รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ ฉบับที่ 12 (ก.พ. 2533) พระราชสาส์นฉบับนี้จารลงบนแผ่นทองตามโบราณราชประเพณี โดยเป็นฉบับสุดท้ายที่กษัตริย์ไทยส่งไปถึงกษัตริย์ฝรั่งเศสโดยตรง ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น เคยมีการส่งพระราชสาสน์แบบเดียวกันนี้ไปยังฝรั่งเศสแล้ว 4 ฉบับ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2223, 2228, 2230 และ 2242 แต่ไม่หลงเหลือต้นฉบับมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อหาโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 และกล่าวถึงสัมพันภาพอันดีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสตั้งแต่การทำสัญญาทางการค้าใน ค.ศ. 1857 รวมทั้งทรงชื่นชมกงสุลฝรั่งเศสในกรุงเทพฯซึ่งปฏิบัติหน้าที่ได้ดี

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นแด่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 อย่างเป็นทางการที่พระราชวัง Fontainebleau เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นราชทูต

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์, "พระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไปยังพระ เจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส," รวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ ฉบับที่ 12 (ก.พ. 2533).
2) คู่มือนิทรรศการความสัมพันธ์ไทยกับฝรั่งเศส 300 ปี สมเด็จพระนารายณ์ และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529).
3) ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคอาณาจักรอยุธยา (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2546).
4) เพ็ญศรี ดุ๊ก, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย (สยาม) กับประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตามเอกสารของกระทรวงต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ ฉบับที่ 12 (ก.พ. 2533)