จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

จารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 13:35:05 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 15:13:32 )

ชื่อจารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 35 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2539) กำหนดเป็น "จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏ"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติในไต้หวัน

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 35 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2539) : 13-23.

เนื้อหาโดยสังเขป

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนึกถึงพระราชไมตรีที่มีต่อพระเจ้าเตากวง จึงโปรดฯให้พระจำเริญสุพรรณบัตร, หลวงสวัสดิ์ไมตรี และขุนพจนา จำทูลพระราชสาส์นพร้อมด้วยเครื่องมงคลราชบรรณาการรวมทั้งพระราชสาส์นคำหับอักษรจีนถวายแด่พระเจ้าเตากวงตามขนบที่มีมาแต่โบราณ

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

การกำหนดอายุ

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ กำหนดอายุจารึกจากข้อความในสมุดไทยซึ่งบันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้นายราชสารและนายชำนิเป็นผู้จารพระราชสาส์นนี้เมื่อ วันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช 1184 เวลา สามโมง 6 บาท ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2365 เวลา 09.36 (เอกสารดังกล่าวเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เป็นสมุดไทยดำ เส้นดินสอ อักษรและภาษาไทย ชื่อว่า “พระราชสาส์นไปเมืองจีน”)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, "จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏ," ศิลปากร 39, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2539), 13-23.
2) จยาหรง โจว, ประวัติศาสตร์จีน (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2547).
3) ดนัย ไชยโยธา, ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2546).
4) ตรี อมาตยกุล, "สัมพันธภาพระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน," แถลงงานประวัติศาสตร์ 11, 1-3 (มกราคม-ธันวาคม 2520), 65-107.
5) Peera Panarut, A Diplomatic Letter that was rather not a Letter In: Wiebke Beyer, Karin Becker (eds): Artefact of the Month No 24, CSMC, Hamburg, https://www.csmc.uni-hamburg.de/publications/aom/024-en.html

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : https://www.csmc.uni-hamburg.de/publications/aom/024-en.html