จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 13:07:39 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 14:01:24 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สค. 1, จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากวัดศรีสระเกศ

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2339

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 9 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 2 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 3 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป ปางสมาธิ

ขนาดวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปส่วนที่มีจารึก กว้าง 43.4 ซม. สูง 149 ซม. หนา 0.6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สค. 1”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2517) กำหนดเป็น “จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากวัดศรีสระเกศ”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 และ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดอ่างแก้ว เชิงสะพานท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2557 ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยได้ไปสำรวจแต่ไม่พบจารึกหลักนี้)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 17 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2517) : 71-72.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 249-252.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 365-366.

ประวัติ

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้วนี้ อักษรจารึกปรากฏอยู่ที่ฐานเขียงหกเหลี่ยม ซึ่งจารึกอักษรได้เพียง 3 ด้าน เท่านั้น ลักษณะของพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ประทับนั่งสมาธิราบ ปางสมาธิ เหนือฐานปัทม์ และมีหลักฐานย่อๆ ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ได้เคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า คำอ่านจารึกบนฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ การนำจารึกมารวมพิมพ์ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย ใช้ชื่อว่า จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว

เนื้อหาโดยสังเขป

เจ้าหม่อมพิมพา ได้มีศรัทธาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 1158 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2339 อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2325-2352)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และพิทูร มลิวัลย์, “คำอ่านจารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากวัดศรีสระเกศ,” ศิลปากร 17, 5 (มกราคม 2517) : 71-72.
2) ประสาร บุญประคอง และพิทูร มลิวัลย์, “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 249-252.
3) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกฐานพระพุทธรูปวัดอ่างแก้ว,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 365-366.
4) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 261-287.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)