จารึกวัดตำหนัก

จารึก

จารึกวัดตำหนัก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 13:11:39 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดตำหนัก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พจ. 2, ศิลาจารึกอักษรขอมและไทย ภาษาไทย ได้มาจากวัดตำหนัก ต. บางคลาน อ. โพทะเล จ. พิจิตร, หลักที่ 108 ศิลาจารึก วัดตำหนัก

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 2023

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 37.5 ซม. สูง 111 ซม. หนา 6.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พจ. 2”
2) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2511) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรขอมและไทย ภาษาไทย ได้มาจากวัดตำหนัก ต. บางคลาน อ. โพทะเล จ. พิจิตร”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 108 ศิลาจารึก วัดตำหนัก”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดตำหนัก”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดตำหนัก (ร้าง) ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 6 กันยายน 2566)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 11 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2511) : 78-80.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 137-139.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 71-75.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ ได้มาจากวัดตำหนัก (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง) ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร และได้เคลื่อนย้ายจากหอสมุดแห่งชาติ ไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2521 จารึกหลักนี้ปรากฏการใช้อักษร 2 แบบ คือ บรรทัดที่ 1-8 ตอนต้นใช้อักษรขอมสุโขทัย ภาษาไทย และจากบรรทัดที่ 8 ตอนปลายถึงบรรทัดที่ 10 ใช้อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย

เนื้อหาโดยสังเขป

มหาเถรสุมงคลราชรุจีศรีพิเชียรปรีชญา กับพระสงฆ์อีก 100 รูป และอุบาสก อุบาสิกา ร่วมเป็นประธานในการพิมพ์พระด้วยเนื้อต่างๆ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุจุลศักราช 842 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2023

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรขอมและไทย ภาษาไทย ได้มาจากวัดตำหนัก ต. บางคลาน อ. โพทะเล จ. พิจิตร,” ศิลปากร 11, 5 (มกราคม 2511) : 78-80.
2) ประสาร บุญประคอง, “จารึกวัดตำหนัก,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 71-75.
3) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 108 ศิลาจารึก วัดตำหนัก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 137-139.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)