จารึกฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำ

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 14:00:26 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำ

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2353

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริดรมดำ

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

หน้าตักกว้าง 12 นิ้ว

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

กุฏิเจ้าอาวาสวัดกลางกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

กุฏิเจ้าอาวาสวัดกลางกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 379-380.

ประวัติ

พระราชพรหมจริยคุณ (สุข กายาพาด) เจ้าคณะจังหวัด ได้ให้ประวัติเกี่ยวกับหลวงพ่อดำนี้ว่า แต่เดิมหลวงพ่อดำนี้ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดนาขาม ต. ภูแล่นช้าง อ. เขาวง จ. กาฬสินธุ์ (บัดนี้ได้เป็นวัดร้างไปแล้ว) สมัยที่พระยาชัยสุนทร (เอ) เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้นำมาไว้ที่จวนเจ้าเมือง หลังจากที่ได้สิ้นชีวิตลง ลูกหลานก็ได้นำหลวงพ่อดำมาถวายไว้ที่วัดกลางกาฬสินธุ์ และเมื่อถึงวันสงกรานต์ก็จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ พิธีแห่หลวงพ่อดำในวันสงกรานต์นี้ ท่านเจ้าคณะจังหวัดบอกว่าได้เริ่มมีขึ้นเมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก ซึ่งปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2526) ท่านอายุได้ 72 ปีแล้ว และในบางปีที่เกิดฝนแล้งหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็จะอัญเชิญหลวงพ่อดำแห่รอบเมืองเพื่อขอฝน ชาวบ้านก็จะสรงน้ำเหมือนในพิธีสงกรานต์เช่นกัน

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกบอกวัน เดือน ปี ที่สร้างและนามผู้สร้าง คือ พระครูนาขาม พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ว่าได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ ศักราช 172 เข้าใจว่าละหลักพัน ดังนั้นจึงน่าจะเป็น จ.ศ. 1172 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2353 อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2352-2367)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542), 190-203.
2) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อดำ,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 379-380.
3) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 288-308.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)