จารึกวัดแก้วบัวบาน

จารึก

จารึกวัดแก้วบัวบาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:51:58 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดแก้วบัวบาน

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2264

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 45 ซม. สูง 56 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดแก้วบัวบาน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดแก้วบัวบาน ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดแก้วบัวบาน ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 353-354.

ประวัติ

เมื่อ พ.ศ. 2527 กองรวมอยู่กับซากโบสถ์หลังเก่า คณะผู้วิจัยได้นำมาไว้ที่กุฏิพระสงฆ์

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงพระมหาเถรเจ้าขำยศสร้างวัด (คงจะเป็นวัดบ้านมะเฟือง) กำหนดเขตแดนที่อุทิศ พร้อมทั้งกล่าวคำสาปแช่งผู้ที่เบียดบังทรัพย์สินของสงฆ์

ผู้สร้าง

พระมหาเถรเจ้าขำยศ

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกทั้ง 2 ข้างของวงดวงชาตา ระบุเลข 83 น่าจะเป็น จ.ศ. 1083 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2264 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าไชยองค์เว้ (พระไชยราชาธิราชที่ 2) ปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (พ.ศ. 2241-2273)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542), 220-228.
2) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดแก้วบัวบาน,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 353-354.
3) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 136-137.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)