ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ภาษา-จารึกภาษาไทย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-พระพุทธศาสนา, เรื่อง-พระพุทธศาสนา-ไตรภูมิ, เรื่อง-พระพุทธศาสนา-ไตรภูมิ-มฆมานพ, เรื่อง-พระพุทธศาสนา-ไตรภูมิ-พระอินทร์, เรื่อง-พระพุทธศาสนา-ไตรภูมิ-อสูร,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 16:13:58 )
ชื่อจารึก |
จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 1 (พระอินทร์กับอสูร) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หิน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 12.4 ซม. ยาว 37 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
ภายในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ภายในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร : กรณีตัวอย่างความช่วยเหลือทางวัฒนธรรมจากเยอรมันนี (กรุงเทพฯ : สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, กรมศิลปากร และกระทรวงศึกษาธิการ, 2528). |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกจำนวน 32 แผ่นที่อยู่บนเสา 8 ต้น ภายในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งมีข้อความบรรยายภาพจิตรกรรมเล่าเรื่อง ไตรภูมิ ชาดก และธรรมนิทานอันปรากฏอยู่ทุกด้านของเสา โดยแผ่นที่ 1 เริ่มจากเสาต้นที่ 1 ด้านขวามือของพระประธาน เวียนเข้าหาพระประธานแบบทักษิณาวัตรแล้วจบในแผ่นที่ 32 บนเสาต้นที่ 8 ด้านซ้ายมือของพระประธาน เนื้อหาในจารึกแต่ละแผ่นมีที่มาต่างกันไป ได้แก่ ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา (ไตรภูมิฉบับหลวง) นิบาตชาดก พระสูตรและอรรถกถา ปัญญาสชาดก รามเกียรติ์ สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี นิทานปกรณัม และมหาวงศ์ นอกจากนี้มีบางส่วนที่ไม่ทราบถึงที่มา อนึ่ง นอกจากจารึก 32 แผ่นบนเสาแล้ว ภายในวิหารยังมีจารึกบนฝาผนังอีก 28 แผ่น ซึ่งเป็นการบรรยายจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับอดีตพุทธ 27 องค์ (ดู “จารึกที่ผนังวิหาร วัดสุทัศน์เทพวราราม 1-28”) |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เล่าเรื่องมฆมาณพได้เป็นพระอินทร์และจับอสูรโยนลงมาจากดาวดึงส์ (เนื้อหาในจารึกนี้มีที่มาจาก ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา (ไตรภูมิฉบับหลวง)) |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกบนเสาทั้ง 32 แผ่นไม่ปรากฏศักราชและไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด อย่างไรก็ตาม มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกับจารึกที่ฝาผนังวิหาร เนื่องจากรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชนิยมในการสร้างจารึกบรรยายเรื่องชาดกและไตรภูมิ ดังจะเห็นได้จากกรณีของวัดพระเชตุพนซึ่งมีจารึกเรื่องชาดกที่ผนังด้านหน้าของศาลาคู่หน้าพระมหาเจดีย์ และจารึกเรื่องนิรยกถาและเปตกถาที่เสาของศาลาการเปรียญ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2564 |