จารึกที่ผนังวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พระพุทธอโนมทัสสี)

จารึก

จารึกที่ผนังวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พระพุทธอโนมทัสสี)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 14:35:11 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ผนังวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 10 (พระพุทธอโนมทัสสี)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 17.3 ซม. ยาว 58 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ภายในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ภายในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2564)

พิมพ์เผยแพร่

1) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร : กรณีตัวอย่างความช่วยเหลือทางวัฒนธรรมจากเยอรมันนี (กรุงเทพฯ : สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, กรมศิลปากร และกระทรวงศึกษาธิการ, 2528).
2) ศิลาจารึกในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543).

ประวัติ

จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกจำนวน 28 แผ่น บริเวณฝาผนังวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งกล่าวถึงอดีตพุทธเจ้า 27 องค์ ทั้งหมดติดตั้งอยู่ภายใต้จิตรกรรมฝาผนัง ที่สอดคล้องกันกับเนื้อหาของจารึกทั้ง 4 ด้านของวิหาร โดยเริ่มจากอดีตพุทธเจ้า มุมซ้ายมือของผนังด้านหน้าพระประธาน (ทิศเหนือ) แล้วเวียนไปทางขวาพระหัตถ์ของพระประธาน (ทิศตะวันออก) ไปจบลงที่ผนังทางด้านซ้ายของพระประธาน (ทิศตะวันตก) ทุกแผ่นจารด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ลายมืออาลักษณ์ แต่ละแผ่นมีเลขกำกับไว้ที่ต้นข้อความ ที่มาของเนื้อหาจารึกมาจากคัมภีร์ 3 เล่ม คือ สัมปิณฑิตมหานิทาน วิสุทธชนวิลาสินี และมธุรสวาหินี จารึกแผ่นที่ 1-3 มีที่มาจาก สัมปิณฑิตมหานิทานซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่สมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์นอกกาลพุทธภูมิ เป็นผลงานที่แต่งขึ้นในไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ส่วนจารึกที่เหลือมาจากคัมภีร์อีก 2 เล่มดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี เป็นอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน เนื้อความกล่าวถึงประวัติของอดีตพุทธเจ้าอย่างย่อ ซึ่งจะมีรายละเอียดอันพิศดารอยู่ในคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ อนึ่ง นอกจากจารึก 28 แผ่นบนฝาผนังแล้ว ภายในวิหารยังมีจารึกบนเสาอีก 32 แผ่น ที่เป็นการบรรยายภาพจิตรกรรมบนเสา ซึ่งเป็นภาพเล่าเรื่องไตรภูมิ ชาดก และธรรมนิทานอีกด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงประวัติของพระพุทธอโนมทัสสี ซึ่งเป็นอดีตพุทธเจ้าในวรกัป

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

จารึกนี้ไม่ปรากฏศักราช แต่สามารถกำหนดอายุได้จากข้อความใน หมายรับสั่งรัชกาลที่ 3 ซึ่งทรงโปรดเกล้าให้สร้างจารึกดังกล่าวขึ้น ใน จุลศักราช 1206 (พ.ศ. 2387) ดังความตอนหนึ่งว่า “…บัดนี้ทรงพระราชศรัทธาให้บอกข้าราชการซึ่งยังไม่ต้องเกณฑ์ จารึกแผ่นศิลาใส่วัดพระเชตุพน ให้เกณฑ์จารึกศิลาใส่วัดสุทัศนเทพธารามเรื่องพุทธวงษ์ติดผนัง 30 แผ่น…”

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) กุลพันธาดา จันทร์โพธิ์ศรี ... [และคนอื่นๆ], วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร : กรณีตัวอย่างความช่วยเหลือทางวัฒนธรรมจากเยอรมันนี (กรุงเทพฯ : สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, กรมศิลปากร และกระทรวงศึกษาธิการ, 2528).
2) วรรณิภา ณ สงขลา, การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531).
3) สัจจรัตน์ สุขในมณี, ศิลาจารึกในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 9 ธันวาคม 2564