จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2109, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดศรีเมือง หนองคาย, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่องการบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช, บุคคล-พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช,

จารึกวัดศรีเมือง

จารึก

จารึกวัดศรีเมือง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 20:02:01 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีเมือง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 3

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2109

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 40 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 170 ซม. หนา 20 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. 3”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 และ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดศรีเมือง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

นายแพง ทะรังษี

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 344-349.
2) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 261-264.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดศรีเมืองนี้ มีหลักฐานเดิมปรากฏอยู่คู่กับสำเนาจารึกว่าเดิมได้มาจากวัดศรีสุพรรณ หมู่ที่ 10 ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายแสง ทะรังษี ปลัดอำเภอซ้าย เป็นผู้ทำสำเนาส่งมาให้หอสมุดแห่งชาติ และต่อมาศิลาจารึกนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เมื่อเจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือ ภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางไปสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้พบจารึกนี้อยู่ที่วัดศรีเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

เนื้อหาโดยสังเขป

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช โปรดเกล้าให้ขุนนางผู้ใหญ่สร้างวัดศรีสุพรรณ และอุทิศที่ดิน ทาสโอกาสแก่วัด รวมทั้งสาปแช่งผู้ที่มาทำลายทานวัตถุเหล่านั้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 3 ระบุ จ.ศ. 928 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2109 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2093-2115)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกวัดศรีเมือง,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 261-264.
2) บุญนาค สะแกนอก, “จารึกวัดศรีเมือง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 344-349.
3) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 84-106.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)