จารึกวัดศรีบุญเรือง (จารึกบ้านผือ)

จารึก

จารึกวัดศรีบุญเรือง (จารึกบ้านผือ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 19:51:54 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดศรีบุญเรือง (จารึกบ้านผือ)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกวัดศรีบุญเรือง

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2134

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 60 ซม. สูง 115 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดศรีบุญเรือง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดร้างแห่งหนึ่งในบ้านกลางใหญ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้พบ

ชาวบ้านกลางใหญ่

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดร้างแห่งหนึ่งในบ้านกลางใหญ่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 281-283.

ประวัติ

ชาวบ้านกลางใหญ่ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ ขอนแก่น ว่าได้พบศิลาจารึกอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งในบ้านกลางใหญ่ อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี ทางพิพิธภัณฑ์ฯ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจและได้เคลื่อนย้ายมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ฯ ขอนแก่น เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2529

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระวรรัตนธรรมประโชติฯ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาพระราชทานที่ดินให้กับวัดศรีบุญเรือง

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 15 ระบุ จ.ศ. 953 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2134 อันเป็นสมัยที่พระหน่อเมืองปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2134-2141)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดศรีบุญเรือง,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 281-283.
2) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 110-111.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530)