อายุ-จารึก พ.ศ. 2053, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานเทวรูปสัมฤทธิ์, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน, บุคคล-เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา-สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงศรีอยุธยา-สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3, บุคคล-สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2, บุคคล-สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 14:54:52 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
กพ. 2, หลักที่ 13 จารึกบนฐานพระอิศวรจังหวัดกำแพงเพชร |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศักราช 2053 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 3 บรรทัดรอบฐานพระอิศวร |
วัตถุจารึก |
โลหะ (สำริด) |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
ฐานกว้าง 44.5 ซม. สูง. 44.5 ซม. หนา 2.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพ. 2” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2429 |
สถานที่พบ |
ศาลพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร |
ผู้พบ |
ชาวต่างชาติชื่อ รัสต์มัน ได้ลักตัดพระเศียรและพระหัตถ์จะนำออกนอกประเทศ เจ้าหน้าที่ฯ จับได้ที่กรุงเทพฯ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) เสียมอองเซียง ฉบับบาดหลวงฉมิธ |
ประวัติ |
รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2429 มีชาวเยอรมันคนหนึ่งชื่อ รัสต์มัน ขึ้นไปลักตัดพระเศียรและพระหัตถ์รูปพระอิศวรนี้ จะเอาส่งไปประเทศเยอรมนี จับได้ที่ในกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าของโบราณซึ่งทอดทิ้งอยู่ตามหัวเมือง ถ้าไม่ดูแลรักษาจะเป็นอันตรายหายเสีย แต่ที่จะรักษาไว้ตามหัวเมือง จะรักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จึงโปรดเกล้าฯ ให้สั่งไปยังเมืองกำแพงเพชรให้ส่งของโบราณ เช่นรูปพระอิศวรนี้ พร้อมทั้งศิลาจารึกนครชุม (กพ. 1, กพ./1, หลักที่ 3) ลงมาด้วย |
เนื้อหาโดยสังเขป |
คำจารึกฐานพระอิศวรนี้ บาดหลวงฉมิธได้เคยแปลและพิมพ์ในหนังสือเสียมอองเซียงมาครั้งหนึ่งแล้ว มีทั้งรูปถ่ายองค์พระอิศวร พร้อมทั้งแท่นที่ยืนและตัวอักษรที่จารึกนั้นด้วย จารึกที่ฐานรอบพระบาทพระอิศวรมี 3 บรรทัด (จารึกเรียงเป็นบรรทัดตามลำดับโดยรอบ) เป็นอักษรไทย ภาษาไทย เมื่อ ม.ศ. 1432 (พ.ศ. 2053) เป็นเรื่องเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานรูปพระอิศวรนั้น (คำว่าประดิษฐานจะหมายความว่า หล่อขึ้นใหม่หรือเชิญมาจากที่อื่น เอามาไว้ในเทวสถานนั้น ข้อนี้สงสัยอยู่) และว่าได้บำเพ็ญสาธารณกุศลต่างๆ มีซ่อมแปลงพระมหาธาตุ และบำรุงถนนหนทางต่างๆ แล้ว และขอถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ คือสมเด็จพระบรมราชาพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อยังปรากฏพระนามว่า พระเชษฐา เป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอีกพระองค์หนึ่ง |
ผู้สร้าง |
เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช |
การกำหนดอายุ |
ปรากฏศักราช 1432 มะเมียนักษัตร อาทิตยพาร เดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ในบรรทัดที่ 1 ซึ่งตรงกับ ปีพุทธศักราช 2053 ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526) |