จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกมุจลินทอาราม 2

จารึก

จารึกมุจลินทอาราม 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 02:55:33 )

ชื่อจารึก

จารึกมุจลินทอาราม 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก ขก./11 อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, จารึกวัดมุจลินทอาราม 2, ขก. 10

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2139

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 29 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 14 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 48 ซม. สูง 50 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 10”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2519) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ขก./11 อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกมุจลินทอาราม 2”
4) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกวัดมุจลินทอาราม 2”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2519) : 35-37.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 353-357.
3) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 290-294.

ประวัติ

จารึกมุจลินทอาราม 2 นี้ ได้มาจากบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ขณะทำการสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 จารึกหลักนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า คำอ่านศิลาจารึก ขก. 11 อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ การนำจารึกมารวมพิมพ์ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนเลขทะเบียนวัตถุ และชื่อจารึกใหม่เป็นเลขที่ ขก. 10 จารึกมุจลินทอาราม 2 ธวัช ปุณโณทก ได้สันนิษฐานว่า คงมีการเคลื่อนย้ายจารึกหลักนี้มาจาก อ. โพนพิสัย มาอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง อ. เมืองหนองคาย ระยะหนึ่ง และได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ฯ ขอนแก่น คราวเดียวกับศิลาจารึกมุจลินทอาราม 1 (ขก. 7) เพราะข้อความในศิลาจารึกหลักนี้ระบุถึงเขตแดนวัดมุจลินทอาราม ติดฝั่งแม่น้ำห้วยหลวง อ. โพนพิสัย ซึ่งสอดคล้องกับจารึกมุจลินทอาราม 1 (ขก. 7)

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกระบุเขตที่ดินและข้าโอกาสที่ถวายไว้แด่วัดมุจลินทอาราม เมืองห้วยหลวง ตอนท้ายได้มีการประกาศเขตปลอดอาญาแผ่นดินไว้เช่นเดียวกันกับศิลาจารึกมุจลินทอาราม 1 (ขก. 7)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 15 ระบุ จ.ศ. 958 ตรงกับ พ.ศ. 2139 อันเป็นสมัยที่พระหน่อเมืองปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2134-2141)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “คำอ่านศิลาจารึก ขก./11 อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย ได้มาจากบ้านเสมา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์,” ศิลปากร 20, 3 (กันยายน 2519) : 35-37.
2) เทิม มีเต็ม, “จารึกมุจลินทอาราม 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 353-357.
3) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดมุจลินทอาราม 2,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 290-294.
4) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 110-111.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; Khk_1001_c และ Khk_1002_p)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566