จารึกวัดพังเพา

จารึก

จารึกวัดพังเพา

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 19:33:59 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพังเพา

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ขก. 6, ศิลาจารึกซึ่งได้มาจากวัดศรีสะเกษ จ. หนองคาย อักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา, หลักที่ 89 ศิลาจารึกวัดศีรษะเกษ, ขก.6

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2112

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 60 ซม. สูง 149 ซม. หนา 20 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 6”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2506) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกซึ่งได้มาจากวัดศรีสะเกษ จ. หนองคาย อักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 89 ศิลาจารึกวัดศีรษะเกษ”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวัดพังเพา”
5) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดศรีสะเกษ”

ปีที่พบจารึก

ประมาณ พุทธศักราช 2506

สถานที่พบ

วัดศรีสะเกษ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2506) : 66-67.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 26-28.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 364-366.
4) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 265-266.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดพังเพานี้ เดิมอยู่ที่วัดศรีสะเกษ จังหวัดหนองคาย เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 พบว่าศิลาจารึกหลักนี้ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดังนั้น จึงจัดให้จารึกหลักนี้อยู่ในทะเบียนของจังหวัดขอนแก่น

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกกล่าวถึงลูกเจ้าหมื่นบอนและนางหมื่นบอนที่ได้ถวายที่นาดอนจันไว้กับวัดพังเพา

ผู้สร้าง

ลูกเจ้าหมื่นบอน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 2 ระบุ จ.ศ. 931 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2112 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2093-2115)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกซึ่งได้มาจากวัดศรีสะเกษ จ. หนองคาย อักษรไทย ภาษาไทย สมัยอยุธยา,” ศิลปากร 7, 3 (กันยายน 2506) : 66-67.
2) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 89 ศิลาจารึกวัดศีรษะเกษ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 26-28.
3) ประสาร บุญประคอง, “จารึกวัดพังเพา,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 364-366.
4) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดศรีสะเกษ,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 265-266.
5) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 84-106.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-27, ไฟล์; Khk_0600_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 23-27 มีนาคม 2559
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566