จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 3)

จารึก

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 3)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 13:23:51 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 3)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 3) จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 3 พุทธศักราช 1949, สท. 8

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1949

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 38 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 54 ซม. สูง 100 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 8”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 3) จังหวัดสุโขทัย”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 3 พุทธศักราช 1949“
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/17/2560"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2466 พร้อมกับศิลาจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ 1

สถานที่พบ

บนฐานพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่หอพระสมุดฯ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) บาทหลวงสมิธ ได้แปลและตีพิมพ์ในหนังสือ เสียมอองเซียง (แผ่นที่ 1 และแผ่นที่ 3)
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 119-127.
3) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 260-264.

ประวัติ

ดูรายละเอียดใน จารึกวัดป่าแดง (แผ่นที่ 1)

เนื้อหาโดยสังเขป

พระมหาธรรมราชาที่ 3 กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุโขทัย ทรงมีพระบรมราชโองการในที่ประชุมฯ ให้สถาปนาพระบรมครูติโลกดิลกฯ สังฆราชา มหาสามีเจ้า ขึ้นเป็น “สังฆปรินายกสิทธิ” มีอำนาจสิทธิ์ขาดในคณะอรัญวาสี และได้กล่าวถึงการแต่งตั้งพระมงคลวิลาสมหาเถร เป็นเจ้าอาวาสในวัดกัลยาณวนาราม จึงได้มีวิวาทาธิกรณ์เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ พระมหาธรรมราชาที่ 3 เจ้าเมืองสุโขทัย จึงมีพระราชโองการในที่ประชุมพร้อมด้วยพระราชมารดา หมู่เสนาอำมาตย์ราชบัณฑิตและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายทรงตั้งพระบรมครูสังฆราช คือตัวท่านให้เป็นสังฆปรินายกทั้งพระราชทานอำนาจสิทธิ์ขาด ที่จะระงับอธิกรณ์ต่างๆ ได้เองในคณะอรัญวาสี ด้วยได้รับราชอำนาจดังกล่าวมา พระบรมครูจึงได้ตั้งพระมงคลวิลาสมหาเถรเป็นเจ้าอาวาสในวัดกัลยาณวนาราม อีกครั้งหนึ่งได้โดยเรียบร้อย

ผู้สร้าง

พระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคนธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสามีเจ้า พระสังฆปรินายก

การกำหนดอายุ

บรรทัดที่ 24 บอกศักราช 768 (จุลศักราช) ตรงกับ พ.ศ. 1949

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร ชัชชัยอังกูร และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกวัดป่าแดง พุทธศักราช 1949,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 260-264.
2) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 9 ศิลาจารึกวัดป่าแดง จังหวัดสุโขทัย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโชทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, สำนักนายกรัฐมนตรี, [2521]), 119-127.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-17, ไฟล์; St_0800_c)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566