จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกวัดทงแลง (มหาเถรปราสาทเจ้า)

จารึก

จารึกวัดทงแลง (มหาเถรปราสาทเจ้า)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 15:13:56 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดทงแลง (มหาเถรปราสาทเจ้า)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึก ลพ./30 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย, จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า, ลพ. 30

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 18 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 11 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย สีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นยาว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 52 ซม. สูง 66 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 30”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./30, พช. 8, 329”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2518) กำหนดเป็น “ศิลาจารึก ลพ./30 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน กำหนดเป็น “จารึกวัดทงแลง (มหาเถรปราสาทเจ้า)”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2518) : 79-81.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 71.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 555-560.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการไว้ข้าให้อุปฐากพระพุทธรูปและชาวเจ้าสงฆ์ แล้วถวายบุญนั้นแก่พระเป็นเจ้าสองแม่ลูก (พระเมืองแก้ว กับ พระราชมารดา) ตลอดถึงเทพยดาทั้งหลาย ห้ามมิให้ผู้ใดนำข้าพระไปทำการงานอย่างอื่น ถ้าผู้ใดบ่ฟังคำ ขอให้ผู้นั้นต้องทุกข์ ได้กล่าวถึงข้าพระวัดทงแลง และได้กล่าวถึงการเอาบุญในการสร้างวัดไปยังพระมหาเถรปราสาท และกล่าวถึงพระมหาเทวีเจ้ายินดีในบุญ ได้ไว้คน 18 ครัว

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้จารึกหลักนี้เป็นจารึกอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21 และในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย สันนิษฐานว่า จารึกหลักนี้คงจะสร้างในรัชสมัยพระเมืองแก้ว หรือในราวพุทธศตวรรษที่ 21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกวัดทงแลง (มหาเถรปราสาทเจ้า),” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 71.
2) เทิม มีเต็ม, “ลพ. 30 จารึกมหาเถรปราสาทเจ้า,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 555-560.
3) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึก ลพ./30 อักษรไทยฝักขาม ภาษาไทย ได้มาจาก อ. พะเยา จ. เชียงราย,” ศิลปากร 18, 5 (มกราคม 2518) : 79-81.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538)