จารึกเจ้าเหนือหัวหมื่นพระญาสองแคว

จารึก

จารึกเจ้าเหนือหัวหมื่นพระญาสองแคว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 13:55:22 )

ชื่อจารึก

จารึกเจ้าเหนือหัวหมื่นพระญาสองแคว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ./24, พช. 36, 333, หลักที่ 302 จารึกพระยาสองแคว, ลพ. 24

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2017

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายสีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 54 ซม. สูง 64 ซม. หนา 12 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 24”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./24, พช. 36, 333”
3) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกเจ้าเหนือหัวหมื่นพระญาสองแคว”
4) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 302 จารึกพระยาสองแคว”
5) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “จารึกพระยาสองแคว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 62-63.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 99-101.
3) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 83-86.

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2017 เจ้าสองแควเก่า ผู้ซึ่งพระเจ้าติโลกราชยกขึ้นเป็นลูก และให้เป็นเจ้าสี่หมื่นกินเมืองพะเยา มาสร้างบ้านพองเต่าให้เป็นที่อยู่

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 836 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2017 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกเจ้าเหนือหัวหมื่นพระญาสองแคว,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 62-63.
2) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, “ลพ. 24 จารึกพระยาสองแคว,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 83-86.
3) ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม, “หลักที่ 302 จารึกพระยาสองแคว,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 99-101.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 3 มกราคม 2567