จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2415, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพันเตา เชียงใหม่, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-พุทธาภิเษก, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระเจ้าอินทวิชยานนท์, บุคคล-พระเจ้าอินทวิชยานนท์, บุคคล-อุปราชอินทนนท์, บุคคล-แม่เจ้าคำแผ่น, บุคคล-แม่เจ้าบัวทิพย์,

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 13:56:40 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 109 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3, 105 วัดพันเตา, ชม. 109

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2415

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้

ลักษณะวัตถุ

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 99 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 109 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “105 วัดพันเตา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑ์หอคำ ภายในวัดพันเตา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 139-140.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่ด้านหน้าฐานพระพุทธรูปไม้ ปางมารวิชัย จำนวน 7 บรรทัด ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) แสดงความเห็นว่า พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ไม่เหมือนพระพักตร์พระพุทธรูปองค์อื่นๆ แต่ดูเหมือนใบหน้าของคนที่มีชีวิต จึงนำไปเทียบจากภาพถ่ายของพระเจ้ากาวิโลรส และสันนิษฐานว่า ผู้สลักพระพุทธรูปองค์นี้ ตั้งใจจะทำให้คล้ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์

เนื้อหาโดยสังเขป

จุลศักราช 1234 อุปราชอินทนนท์ (ในเวลาต่อมาคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์) แม่เจ้าคำแผ่น และแม่เจ้าบัวทิพย์ เป็นประธานในการทำพิธีพุทธาภิเษกและถวายพระพุทธรูปองค์นี้แด่วัดพันเตา เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายพระราชบิดา, พระราชมารดาและพระญาติที่ทรงล่วงลับไปแล้ว

ผู้สร้าง

อุปราชอินทนนท์ แม่เจ้าคำแผ่น และแม่เจ้าบัวทิพย์ รวมทั้งลูกหลานทุกคน

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1234 (พ.ศ. 2415) ในช่วงเวลาที่เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการเมืองเชียงใหม่ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “105 วัดพันเตา,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 139-140.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)