จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:14

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 109 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 3, 105 วัดพันเตา, ชม. 109

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2415

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุฬ” คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่” เป็น “จุล” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจารึกแล้วพบว่าเป็นอักษร “ฬ” อย่างชัดเจน ในที่นี้จึงขอเปลี่ยนเป็น “จุฬ” ตามที่ปรากฏในจารึก
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 1234 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2415 ในช่วงเวลาที่เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการเมือง เชียงใหม่ ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งจากรัชกาลที่ 5 ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครนามว่า เจ้าอินทวิชยานนท์ ใน พ.ศ. 2416 และ เลื่อนยศเป็น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ใน พ.ศ. 2425
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีเต่าสัน” คือ ปีวอก จัตวาศก ซึ่งในที่นี้ก็คือ จ.ศ. 1234
4. ฮันส์ เพนธ์ : “เพ็ง” = เพ็ญ
5. ฮันส์ เพนธ์ : “เม็ง” คือ มอญ ในที่นี้หมายถึง ตามวิธีการนับแบบมอญ
6. ฮันส์ เพนธ์ : “วัน 5” คือ วันพฤหัสบดี
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เค้า” หมายถึง ประธาน
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชู่” หมายถึง ทุก เช่น ชู่ผู้ชู่คน หมายถึง ทุกผู้ทุกคน
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หื้อ” หมายถึง ให้
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดพันเท่า” คือ วันพันเตา ในปัจจุบัน
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “คํ” คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่” เป็น “กํ” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจารึกแล้วพบว่าเป็นอักษร “ค” อย่างชัดเจน ในที่นี้จึงขอเปลี่ยนเป็น “คํ” ตามที่ปรากฏในจารึก
12. ฮันส์ เพนธ์ : “พระเจ้าชีวิตตนพ่อ” หมายถึง พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2399-2413
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระวัสสา” หมายถึง ปี
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วันพรูก” หมายถึง วันพรุ่งนี้