จารึกมหาเถรธรรมทิน

จารึก

จารึกมหาเถรธรรมทิน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 21:13:46 )

ชื่อจารึก

จารึกมหาเถรธรรมทิน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกพระมหาเถรเจ้าธรรมทิน, ลพ. 11 จารึกสังฆราชาธรรมทิน พุทธศตวรรษที่ 21, ลพ. 11

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด (ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 ว่า มี 13 บรรทัด)

วัตถุจารึก

หินทรายสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยมทรงสูง ปลายแหลม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 29.2 ซม. สูง 66 ซม. หนา 25 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 11”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./11, พช. 7, 339”
3) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย กำหนดเป็น “จารึกพระมหาเถรธรรมทิน”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “จารึกพระมหาเถรเจ้าธรรมทิน”
5) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลพ. 11 จารึกสังฆราชาธรรมทิน พุทธศตวรรษที่ 21”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 38-39.
2) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 551-554.
3) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 287-288.

เนื้อหาโดยสังเขป

อ่านจับใจความได้เล็กน้อย เกี่ยวกับการอุทิศข้าพระแก่วัด แต่ในจารึกนี้ ปรากฏชื่อพระเถระองค์หนึ่งที่มีความสำคัญมากของล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช คือ พระมหาเถรเจ้าธรรมทิน แต่ในจารึกนี้เขียนตามตัวว่า “มหาเถนธำมะทิน” หากไม่มีพระเถระองค์อื่นที่ใช้นามนี้สืบต่อมาดุจ “สมณศักดิ์” หรือ “ฉายา” แล้ว พระมหาเถรเจ้าธรรมทินในศิลาจารึกนี้ ก็คงจะเป็นองค์เดียวกันกับ “ท่านพระธรรมทินนะ” ผู้เป็นองค์ประธานในการกระทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ที่เรียกว่า “อัฏฐมสังคายนา” ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช เมื่อปีพุทธศักราช 2020 ก็ได้ อนึ่งท่านพระมหาเถระผู้นี้ เป็นชาวเมืองเชียงราย จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ฉบับชำระใหม่ ของกรมศิลปากร ซึ่งท่านผู้ชำระ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระมหาเถระองค์นี้ไว้ว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานได้ 1977 ปี ปลายปีฉลู จุลศักราช 705 พระเถระเหล่านั้นไปเมืองเชียงแสน แคว้นโยน (โยนก) ได้อุปสมบทกุลบุตรเป็นอันมากที่เกาะดอนแท่น ขอให้ทราบว่า พระมหาเถระอุปสมบทในคราวนั้น มีพระธรรมเสนาปติกุลวงศ์เป็นต้น ในปีจุลศักราชนั้นเอง พระมหาเถระทั้งหลาย ท่านได้สร้างมหาวิหารป่าแดงหลวง (วัดป่าแดง) ในวันเพ็ญ เดือน 3 ที่เชิงดอยจอมกิตติ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนครเชียงแสน พระมหาเถรเหล่านั้น ภายหลังได้ทำการอุปสมบทกรรมในปีนั้นเอง ที่สุวรรณปาสาณกะ (แปลว่า แผ่นหินทองคำ เข้าใจว่า เป็นชื่อบ้านวังคำ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือดอยตองเชียงรายในปัจจุบันนี้) ในเมืองเชียงราย ขอให้ทราบว่า พระมหาเถระที่ได้อุปสมบทในคราวนั้น คือ “พระธรรมทินนะ” เป็นต้น ท่านพระธรรมทินนะดังที่กล่าวมานี้ ท่านได้อุปสมบทในปี พ.ศ. 1977 ในรัชกาลของพระเจ้าสามฝั่งแกน พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้จารึกหลักนี้เป็น จารึกอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลพ. 11 จารึกสังฆราชาธรรมทิน พุทธศตวรรษที่ 21,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 245-250.
3) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกพระมหาเถรธรรมทิน,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 38-39.
4) เทิม มีเต็ม, “ลพ. 11 จารึกมหาเถรเจ้าธรรมทิน,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 551-554.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538)