จารึกวัดพระแก้วดอนเต้า

จารึก

จารึกวัดพระแก้วดอนเต้า

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 14:58:10 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพระแก้วดอนเต้า

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 9, ศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า, ลป. 9 จารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า, หลักที่ 82 ศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

ชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 60 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 9”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2505) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 82 ศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 9 จารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งลานนา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2505) : 102-103.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 245-247.
3) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 229.

ประวัติ

ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2505) และได้พิมย์เผยแพร่ครั้งต่อมาในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างวัด คือ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่พระราชาและพระภิกษุสงฆ์ ทั้งนี้หากผู้ใดได้มาประจำอยู่ที่วัดแห่งนี้ขอให้ได้ขึ้นสวรรค์และถึงซึ่งนิพพาน ตอนท้ายได้ฝากฝังข้าพระให้ดูแลเรื่องจังหันพระ และห้ามเบียดเบียนสมบัติของวัด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (44)-(45).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 9 จารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 229.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง,” ศิลปากร 6, 4 (พฤศจิกายน 2505) : 102-103.
4) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 82 ศิลาจารึกที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 245-247.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-31, ไฟล์; LPg_0900_c)