จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) หลักที่ 2

จารึก

จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) หลักที่ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:40:13 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาไทย) หลักที่ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 7 จารึกวัดป่ามะม่วง อักษรไทย ภาษาไทย (ที่ 2) จังหวัดสุโขไทย, ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย หลักที่ 2 พุทธศักราช 1904, สท. 5

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1904

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 95 บรรทัด จำนวน 4 ด้าน ด้านที่ 1 และ 3 ชำรุด ด้านที่ 2 มี 44 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 51 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายแปร

ลักษณะวัตถุ

หลักสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

ด้านที่ 1, 3 กว้าง 28 ซม. ด้าน 2,4 กว้าง 12.5 ซม. สูง 132 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 5”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 7 จารึกวัดป่ามะม่วง อักษรไทย ภาษาไทย (ที่ 2) จังหวัดสุโขไทย”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย หลักที่ 2 พุทธศักราช 1904”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/18/2560”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2458

สถานที่พบ

วัดป่ามะม่วง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์)

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 105-110.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 51-57.

ประวัติ

พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัย ส่งมายังหอพระสมุดฯ เมื่อปี พ.ศ. 2458 ไม่ปรากฏหลักฐาน สถานที่พบศิลาจารึกหลักนี้ เข้าใจว่าแต่เดิมคงจะได้ประดิษฐานอยู่ในป่ามะม่วงมาก่อน เพราะจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 31-36 ปรากฏข้อความว่า “ที่พระยาศรีสุริยพงศ์ธรรมราชาธิราชออกบวชและแผ่นดินป่ามะม่วงนี้ไหว”

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกด้านที่ 1 กับด้านที่ 3 ชำรุด อ่านจับใจความไม่ได้ ส่วนด้านที่ 2 กับด้านที่ 4 นั้นพออ่านได้บ้าง ข้อความที่จารึก ได้กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในป่ามะม่วง และทรงผนวช

ผู้สร้าง

พระมหาธรรมราชาที่ 1

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 10-11 บอกศักราช “ศักราชปีฉลู หนไทย ปีรวงเป้า” คือ จ.ศ. 723 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1904

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก:
1) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 7 ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย อักษรไทย (ที่ 2) จังหวัดสุโขไทย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2467 ([กรุงเทพฯ] : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 105-110.
2) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย หลักที่ 2 พุทธศักราช 1904,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 51-57.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526)