จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 17 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2336, อายุ-จารึกสมัยพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์-พระเจ้านันทเสน, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 1, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราช,

จารึกฐานพระพุทธรูปพิพิธภัณฑ์ขอนแก่น

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปพิพิธภัณฑ์ขอนแก่น

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 12:55:05 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปพิพิธภัณฑ์ขอนแก่น

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์, จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดพิพิธภัณฑสถานขอนแก่น

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2336

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองสัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป

ขนาดวัตถุ

เส้นรอบฐาน 69 ซม. สูง 23 ซม. หนา 2 มม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2515) กำหนดเป็น “จารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์”
2) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสาน กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปสำริดพิพิธภัณฑสถานขอนแก่น”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ในถ้ำ ตำบลคำอาฮวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (สำรวจ 24 มีนาคม 2559)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2515) : 84-87.
2) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 363-364.

ประวัติ

ตามบันทึกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ว่า ได้มาจากถ้ำ ตำบลคำอาฮวน อำเภอมุกดาหาร (ปัจจุบันเป็น จังหวัดมุกดาหาร) แต่จากการศึกษาเนื้อความที่จารึกแล้วเข้าใจว่า เดิมคงอยู่ในวัดสำคัญวัดหนึ่ง และเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ภายหลังจึงมีการเคลื่อนย้ายไปไว้ในถ้ำดังกล่าว

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ล้านช้าง ได้ถวายข้าโอกาส เพื่อรักษาบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ และสาปแช่งผู้ที่มายึดเอาข้าโอกาสของพระพุทธรูป

ผู้สร้าง

สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราช

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 1155 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2336 อันเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2325-2352)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) เทิม มีเต็ม, “คำอ่านจารึกบนฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ อักษรไทยเหนือ ภาษาไทย,” ศิลปากร 15, 5 (มกราคม 2515) : 84-87.
2) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกฐานพระพุทธรูปสำริดพิพิธภัณฑสถานขอนแก่น,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 363-364.
3) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 261-287.