จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

จารึก

จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 15:31:17 )

ชื่อจารึก

จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ

อักษรที่มีในจารึก

จีน

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20-22

ภาษา

จีน

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

พระพิมพ์

ขนาดวัตถุ

กว้าง 5.3 ซม. สูง 8.8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กรมศิลปากร กำหนดเป็น “จารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศ”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กำหนดเป็น “471/2523”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2500

สถานที่พบ

วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2502), 41-42.

ประวัติ

จารึกนี้ถูกพบจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ใน พ.ศ. 2500 พ.ต.ท. วุฒิ สมุทรประภูติ ผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้จับกุมคนร้ายแล้วแจ้งให้กรมศิลปากรทราบเรื่อง ต่อมาจึงมีการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดอื่นๆ สำหรับจารึกอักษรจีนหลังพระพิมพ์นั้น มีการพบเป็นจำนวนมาก โดยถูกจัดแสดงไว้ในห้อง “วัดราชบูรณะ” คำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้มีการตีพิมพ์หนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องในโอกาสนำพระพุทธรูปและพระพิมพ์ดังกล่าวมาจัดแสดงแก่ประชาชนในเทศกาล สงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. 2502 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการสร้างพระพิมพ์ในรัชสมัยไต้เหม็งด้วยความเลื่อมใสในพุทธศาสนา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากข้อความที่ปรากฏในจารึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ใน “รัชสมัยไต้เหม็ง” ซึ่งก็คือ ราชวงศ์เหม็ง ของประเทศจีน (พ.ศ. 1911-2187) ดังนั้นจารึกจึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 20-22

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) กรมศิลปากร, พระพุทธรูป และพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พระนคร : กรมศิลปากร, 2502).
2) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา = Gold treasure of the Ayutthaya period (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 25 - - ?).

ภาพประกอบ

ภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : พระพุทธรูปและพระพิมพ์ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2502)