จารึกอักษรจีนบนแผ่นทองรูปกลม ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

จารึก

จารึกอักษรจีนบนแผ่นทองรูปกลม ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 15:30:31 )

ชื่อจารึก

จารึกอักษรจีนบนแผ่นทองรูปกลม ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

แผ่นทองจารึกอักษรจีน

อักษรที่มีในจารึก

จีน

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

จีน

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นทองรูปร่างกลม แบน

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) ในหนังสือ เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา กำหนดเป็น “แผ่นทองจารึกอักษรจีน”
2) ในหนังสือ เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม กำหนดเป็น “จารึกแผ่นทองอักษรจีน”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา กำหนดเป็น “1573/38-1”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2500

สถานที่พบ

วัดราชบูรณะ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 25 - -?).
2) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แห่งแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ : แปลน โมทีฟ, 2543).
3) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แห่งแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ : แปลน โมทีฟ, 2546).
4) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2548), 98.

ประวัติ

จารึกนี้ถูกพบจากการลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ใน พ.ศ. 2500 พ.ต.ท. วุฒิ สมุทรประภูติ ผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะนั้น ได้จับกุมคนร้ายแล้วแจ้งให้กรมศิลปากรทราบเรื่อง ต่อมาจึงมีการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนเช่าพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะและวัดอื่นๆ ข้อมูลรวมทั้งคำอ่าน-คำแปลของจารึกนี้ได้รับการตีพิมพ์โดยกรมศิลปากรในหนังสือ เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา (ไม่ระบุปีที่พิมพ์) โดยขอให้คุณ หวัง จี้ หมิน แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งช่วยอ่านโดยออกเสียงเป็นภาษาจีนกลาง ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมและพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 นอกจากนี้จารึกดังกล่าวยังถูกกล่าวถึงในหนังสือ เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2543 และ 2546 โดยมีคำอ่าน-คำแปลที่แตกต่างไปจากหวัง จี้ หมิน เล็กน้อย แต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้อ่านไว้แต่อย่างใด

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อหาจากการแปลของ หวัง จี้ หมิน จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีด้วยกัน 3 แบบ แต่ค่อนข้างยากที่จะจับใจความได้ อย่างไรก็ตามมีบางแห่งสันนิษฐานว่าเป็นคำอธิษฐานขอให้ตนมีอายุยืนเหมือนภูเขาใต้ โดยผู้สร้างจารึกอาจเป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสร้างพระธาตุจึงอุทิศแผ่นทองและสิ่งของต่างๆด้วยความศรัทธา (ดูรายละเอียดในเชิงอรรถอธิบาย)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ยังไม่มีการกำหนดอายุจารึก

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา = Gold treasure of the Ayutthaya period (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 25 - - ?).
2) ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์, เรียบเรียง, เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร, 2548), 96-98.
3) สุเนตร ชุตินธรานนท์, เยาวนุช เวศร์ภาดา และภูวดล สุวรรณดี, เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : แปลน โมทีฟ, 2546).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา…อมตะศิลป์แห่งแผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ : แปลน โมทีฟ, 2546)