จารึกมหาสุวัน (เทพมงคลเจ้า)

จารึก

จารึกมหาสุวัน (เทพมงคลเจ้า)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2566 12:50:19 )

ชื่อจารึก

จารึกมหาสุวัน (เทพมงคลเจ้า)

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 15 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 11 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อหยาบ

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 29 ซม. สูง 81 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น "จารึกมหาสุวัน (เทพมงคลเจ้า)"

ปีที่พบจารึก

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520

สถานที่พบ

วัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของวัดแม่สุกธาตุ บ้านแม่สุก ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

นายตั๋น อุ่นเอ้ย ชาวบ้านบ้านแม่สุก

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดแม่สุกธาตุ บ้านแม่สุก ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 561-566.

ประวัติ

นายตั๋น อุ่นเอ้ย ชาวบ้านบ้านแม่สุก ขุดพบได้บริเวณฐานของเจดีย์ ขณะที่มีการบูรณะวัดร้างแห่งนี้ (สัมภาษณ์ นายตั๋น อุ่นเอ้ย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2529)

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกด้านที่ 1 ชำรุด จับใจความไม่ได้ ด้านที่ 2 เป็นรายชื่อชาวบ้านที่อุทิศที่ดินแก่วัด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้จารึกหลักนี้เป็น จารึกอักษรฝักขาม อายุพุทธศตวรรษที่ 21

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ, “จารึกมหาสุวัน (เทพมงคลเจ้า),” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 561-566.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538)