จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, อายุ-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในหอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเครื่องพลีทาน, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, เรื่อง-การเมืองการปกครอง-ลงโทษ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7,

จารึกปราสาททามจาน

จารึก

จารึกปราสาททามจาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2561 18:19:25 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:09:20 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาททามจาน

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 98 บรรทัด ด้านที่ 1-3 มีด้านละ 24 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อละเอียดสีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยม ส่วนบนสอบเป็นยอดแหลมทรงกระโจม

ขนาดวัตถุ

กว้างบน 29 ซม. กว้างล่าง 27.2 ซม. สูงจากยอดถึงเดือย 127 ซม. หนา 30 ซม.

ปีที่พบจารึก

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2551

สถานที่พบ

โบราณสถานปราสาททามจาน (เดิมเรียกตามชื่อตำบลว่า ปราสาทสมอ หรือ ปราสาทบ้านสมอ) ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้พบ

นายสุรเชษฐ์ กิ่งทอง นักโบราณคดี ประจำสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2553) : 32-45.

ประวัติ

จารึกปราสาททามจาน เป็นจารึกที่พบในขณะดำเนินการขุดแต่งและขุดค้นทางโบราณคดี ณ โบราณสถานปราสาททามจาน เดิมคนในพื้นที่นิยมเรียกตามชื่อตำบลว่า ปราสาทสมอ หรือ ปราสาทบ้านสมอ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อพุทธศักราช 2551 กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ดำเนินการขุดแต่งและขุดค้นทางโบราณคดีโบราณสถานปราสาททามจาน ระหว่างดำเนินการอยู่ เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 นายสุรเชษฐ์ กิ่งทอง นักโบราณคดี ประจำสำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ปฏิบัติงานอยู่ได้พบหลักศิลาจารึกจมอยู่ในดินระดับเดียวกับพื้นปราสาทประธาน ซึ่งต่ำกว่าพื้นผิวดินธรรมชาติ ปัจจุบัน ประมาณ 1.42 เมตร หลักศิลาจารึกอยู่ห่างจากปราสาทประธานไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 15 เมตร

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านที่ 2 ชำรุด ไม่ทราบใจความ ด้านที่ 3 ข้อความซีกซ้ายชำรุด ข้อความซีกขวากล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ส่วนใหญ่เป็นรายชื่อสมุนไพร ด้านที่ 4 กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ต่อจากด้านที่ 3 จากนั้นมีการกล่าวห้ามไม่ให้มีการทำร้ายกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ลงท้ายด้วยการถวายพระพรแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ได้รับความสุขจากบุญกุศลในครั้งนี้

ผู้สร้าง

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ได้ระบุพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 ดังนั้น พระนาม “ศรีชัยวรมัน” ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1724-1761

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกปราสาททามจาน,” ศิลปากร 53, 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2553) : 32-45.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสาร ศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2553)