จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดปางหมอปวง

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดปางหมอปวง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2561 14:01:14 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดปางหมอปวง

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2155

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

ไม่มีข้อมูล

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

ไม่มีข้อมูล

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดปางหมอปวง ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดปางหมอปวง ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2552) : 4-15.

ประวัติ

พระพุทธรูปวัดปางหมอปวง เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวัดปางหมอปวง จากเนื้อหาที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกสร้างขึ้นในระหว่างที่พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่และบรรดาบ้านเมืองทั้งหลายในล้านนาแล้ว

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกกล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปของบุคคลชื่อ นาคเสน นางแสนโฆสาผู้เป็นภรรยา และนักบุญทั้งหลาย เมื่อ พ.ศ. 2155

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ปรากฏเลขศักราชในช่วงต้นบรรทัดของจารึกคือ “(สิทธิ) การจุ (ล) สกราชะไฑ 974” ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2155 สมัยพม่าครองเมืองเชียงใหม่ โดยให้พระช้อยหรือสโดกยอเป็นผู้ปกครองครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2154-2157)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก :
อัญชลี สินธุสอน, “จารึกพระพุทธรูปล้านนา คณะป่าแดง : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย,” ศิลปากร 52, 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2552) : 4-15.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสาร ศิลปากร ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2552)