โพสต์เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2561 11:23:00 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 18:47:32 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดหางน้ำหนองแขม |
อักษรที่มีในจารึก |
ปัลลวะ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 12 |
ภาษา |
สันสกฤต |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทรายสีเขียว |
ลักษณะวัตถุ |
สภาพเป็นชิ้นส่วนหักชำรุด |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 41 ซม. ยาว 101 ซม. หนา 20.5 ซม. บริเวณที่มีตัวอักษร กว้าง 15 ซม. สูง 13 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นว. 18” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
เขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ |
ผู้พบ |
พระครูนิทานปัญญาภิรัต เจ้าอาวาสวัดหางน้ำหนองแขม ตำบลม่วงหัก หมู่ 8 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดหางน้ำหนองแขม ตำบลม่วงหัก (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าฉนวน) อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสาร ศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2553) : 6-13. |
ประวัติ |
ผู้นำจารึกมาถวายได้มาจากเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจารึกนี้ได้แตกเป็น 2 ชิ้น แล้วได้ถวายให้วัดหางน้ำหนองแขม ตำบลม่วงหัก หมู่ 8 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 ชิ้น ส่วนอีกชิ้นหนึ่งได้ไปถวายวัดที่จังหวัดชัยภูมิ แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดที่ชัดเจน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
จารึกชำรุดและมีข้อความไม่สมบูรณ์ ปรากฏคำ 3 คำสื่อถึงหลักการปฏิบัติตนที่ถูกต้องของผู้ปกครอง |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
พิจารณาจากลักษณะของรูปอักษร ได้แก่ อักษร ‘ร’ ที่ปรากฏในจารึกวัดหางน้ำหนองแขมนี้ มีลักษณะคล้ายกับอักษร ‘ร’ ที่ปรากฏในจารึกเขารัง จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 1182 และจารึกช่องสระแจง จังหวัดปราจีนบุรี พุทธศตวรรษที่ 12 จารึกหลักนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2561, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายสำเนาจารึกจาก : วารสาร ศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2553) |