จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 195/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 195/2523

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2566 06:09:09 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 195/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 41, 195/2523

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2411

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้ลงรักปิดทอง

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

ฐานกว้าง 10.8 ซม. สูง 7.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 41”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน กำหนดเป็น “195/2523”
3) ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ กำหนดเป็น “จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย”

ปีที่พบจารึก

กรกฎาคม พ.ศ. 2529

สถานที่พบ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ผู้พบ

กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 306-307.

ประวัติ

นายสุรศักดิ์ ศรีสำอาง ภัณฑารักษ์งานวิชาการ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และนายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกันสำรวจโบราณวัตถุในจังหวัดน่าน 2 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 2-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ได้พบจารึกฐานพระพุทธรูปจำนวน 43 องค์ จารึกบนหีบพระธรรม 3 ใบ และจารึกบนบานประตูวิหาร 2 บาน จารึกดังกล่าวมีทั้งที่จารด้วยอักษรไทย สมัยสุโขทัย อักษรฝักขาม และอักษรธรรมล้านนา สำหรับจารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนี้ ถูกพบในการสำรวจครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 โดยมีการตีพิมพ์คำอ่านในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” ซึ่งกรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

เนื้อหาโดยสังเขป

จุลศักราช 1230 (พ.ศ. 2411) พระสงฆ์นามว่า กาวิไชย พร้อมทั้งมารดาและพี่น้องทุกคน ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่พ่อซึ่งมีชื่อว่า หนานไช และขอให้ได้ถึงแก่นิพพาน

ผู้สร้าง

พระสงฆ์นามว่า กาวิไชย รวมทั้งมารดาและพี่น้องทุกคน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1230 ตรงกับ พ.ศ. 2411 ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2434)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
เทิม มีเต็ม, “ฐานพระพุทธรูป ฝาหีบพระธรรมและบานประตูที่พบในเมืองน่าน,” ใน เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530), 245-333.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2530)