โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 12:52:48 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง วัดเจดีย์หลวง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
252 วัดเจดีย์หลวง, ชม. 144 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ไม้ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานไม้ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปที่สลักจากงาช้างจำนวน 2 กิ่ง |
ขนาดวัตถุ |
สูง 212 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 144” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดเจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 209-210. |
เนื้อหาโดยสังเขป |
แม่เจ้าคำแผ่น เจ้านายน้อยมหาพรหม เจ้าราชบุตร เจ้านายหนานมหาเทพ รวมถึงอัครชายาและลูกหลานทุกคน ร่วมกันสลักพระพุทธรูปจากงาช้างมงคลนามว่าปราบเมืองมาซึ่งตายลง โดยขอให้ตนได้ถึงแก่นิพพานและสมความปรารถนาในทุกสิ่ง ตอนท้ายอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พ่อเจ้าชีวิต |
ผู้สร้าง |
แม่เจ้าคำแผ่น เจ้านายน้อยมหาพรหม, เจ้าราชบุตร, เจ้านายหนานมหาเทพ รวมถึงอัครชายาและลูกหลานทุกคน |
การกำหนดอายุ |
จากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ ยังไม่มีการกำหนดอายุจารึกดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาจากชื่อบุคคลและเนื้อหาที่ปรากฏในจารึก อาจสันนิษฐานได้ว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2399-2413) (ดูรายละเอียดได้ในเชิงอรรถอธิบาย) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |