จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง วัดเจดีย์หลวง

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง วัดเจดีย์หลวง ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 13:26:36

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปสลักบนงาช้าง วัดเจดีย์หลวง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

252 วัดเจดีย์หลวง, ชม. 144

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้แปล

ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519)

ผู้ตรวจ

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2519)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เทฺพ” เมื่อพิจารณาจากจารึกพบว่าตัวสะกดในคำนี้น่าจะเป็นรูปพยัญชนะตัวเชิงของ “บ” หรือ “ป” ซึ่งมีรูปเหมือนกัน  
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อคฺคณายา” พยางค์ “ณา” ในจารึกสะกดด้วยพยัญชนะตัวเต็ม “ช” และตัวเชิงของพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่ง ตามด้วยสระ  -า  จึงควรเป็น “อคฺคชฺ…ยา” 
3-6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “แม่เจ้าคำแผ่น” คือ อัครชายาของพระเจ้ามโหตรประเทศ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2390-2397) ส่วน “เจ้านายน้อยมหาพรหม” “เจ้าราชบุตร” และ “เจ้านายหนานมหาเทพ” เป็นโอรสของพระเจ้ามโหตรประเทศ ซึ่งถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2397  ดังนั้นการที่ตอนท้ายของจารึกระบุถึงการอุทิศส่วนกุศลแด่พ่อเจ้าชีวิตที่พิราลัยแล้วนั้น น่าจะหมายถึงพระเจ้ามโหตรประเทศ โดยผู้ที่ขึ้นครองเชียงใหม่สืบต่อมาก็คือพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ จารึกนี้จึงน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยดังกล่าว นอกจากนี้ “เจ้าราชบุตร” เป็นนามของหนานสุริยวงศ์ซึ่งเพิ่งได้มาในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส ฯ และจารึกนี้ไม่น่าจะใหม่ไปถึงสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์เนื่องจากสมัยดังกล่าวตรงกับรัชกาลที่ 5 ซึ่ง “เจ้านายน้อยมหาพรหม” ได้รับพระราชทานยศเป็นพระยาอุตรการโกศล พระยาพานทองและไปรับราชการที่กรุงเทพ ฯ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว 
7. ฮันส์ เพนธ์ : “ช้างพู้” หมายถึง ช้างตัวผู้
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ส[มพพุ]พธ”  เมื่อพิจารณาจากจารึกพบว่าน่าจะเป็น “สพฺมฺพุทฺธ”
9. ฮันส์ เพนธ์ : “หื้อ” หมายถึง ให้ 
10. ฮันส์ เพนธ์ : “เถิง” = ถึง
11. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พ่อเจ้าชีวิต” น่าจะหมายถึง พระเจ้ามโหตรประเทศ?