จารึกวิหารหลวงวัดมหาธาตุ

จารึก

จารึกวิหารหลวงวัดมหาธาตุ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 19:03:42 )

ชื่อจารึก

จารึกวิหารหลวงวัดมหาธาตุ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 20

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 9 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 34 ซม. สูง 32 ซม. หนา 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 20”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกวิหารหลวงวัดมหาธาตุ”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/7/2560”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

มุมวิหารหลวงวัดมหาธาตุ สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 6 กันยายน 2566)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 38-42.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ พบที่มุมวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ตามทะเบียนประวัติไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้พบ และไม่ปรากฏวัน เดือน ปีที่พบ ข้อความที่จารึกเป็นคาถารูปคำประพันธ์ร้อยกรองเป็น “วสันตดิลกฉันท์” อักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 20-21 อักษรลบเลือนไปหลายบรรทัด แต่พอจะกำหนดความได้ในบางตอน เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย และเนื่องจากรูปอักษรที่ปรากฏนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับจารึกวัดป่ามะม่วง อักษรขอมโบราณ ทั้งภาษาเขมร (สท. 3) และภาษาบาลี (สท. 4) มาก จึงทำให้เข้าใจว่า จารึกหลักนี้คงจะมีความเกี่ยวกันกับ “พญาลิไท” กษัตริย์ผู้เป็นนักปราชญ์แห่งกรุงสุโขทัยหรือไม่ เพราะคำจารึกบรรทัดที่ 5 ว่า “โสหญฺ ภิกฺขุ คุณกิตฺติ สุนามเทยฺโย” แปลว่า “ข้าพเจ้านั้น (เมื่อบวช) เป็นภิกษุ มีเกียรติคือคุณ มีนามอันดี(ปรมาภิไธย) ว่าเทยยะ” คำว่า “เทยยะ” นั้น อักษรลบเลือนมาก และได้ให้นายเทิม มีเต็ม ช่วยพิสูจน์รูปอักษรจากศิลาจารึกหลักนี้ด้วย ซึ่งท่านกล่าวว่าน่าจะเป็นไปได้ และเรื่องนี้ยังต้องให้ผู้เชี่ยวชาญชำนาญในอักษรโบราณและประวัติศาสตร์ ได้วิเคราะห์พิสูจน์ข้อมูลต่อไป ฉะนั้น หากรูปอักษรบรรทัดที่ 5 นี้ ปรากฏชัดเจนตามที่อ่านแล้ว ก็เป็นอันตกลงใจได้แน่ และทั้งยังนับว่า “ได้เจาะลึกลงไปในประวัติศาสตร์ไทยได้อีกขั้นตอนหนึ่งแล้ว”

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
บุญเลิศ เสนานนท์, “จารึกวิหารหลวงวัดมหาธาตุ,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 38-42.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566