โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 15:21:46 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดหมื่นตุม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
21 วัดหมื่นตุม, ชม. 90 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2105 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
สำริด |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร |
ขนาดวัตถุ |
พระพุทธรูปสูง 126 ซม. ฐาน 8 เหลี่ยมชั้นบนสูง 6 ซม. ชั้นล่างสูง 3.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 90” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดหมื่นตุม ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดหมื่นตุม ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 95-97. |
ประวัติ |
จารึกนี้อยู่บนฐาน 8 เหลี่ยมของพระพุทธรูปสำริดปางอุ้มบาตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกอยู่บริเวณด้านหน้าของฐานจำนวน 4 บรรทัด ข้อความเริ่มต้นจากบริเวณมุมพระบาทด้านขวา ส่วนที่ 2 อยู่ในบริเวณฐานด้านหลังจำนวน 6 บรรทัด ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่า เป็นการจารึกหลังจากหล่อพระพุทธรูปเสร็จแล้วเพราะข้อความที่ระบุว่า "พระพุทธรูปองค์นี้ที่สร้างใหม่" และอักษรทุกตัวประกอบด้วยเส้นสั้นๆ หลายเส้น ไม่ได้เป็นเส้นเดียว หากอักษรถูกจารึกไว้ในแม่พิมพ์ก่อนที่จะหล่อพระพุทธรูป น่าจะประกอบด้วยเส้นเพียงเส้นเดียว |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ตอนต้นระบุถึงวันเวลาและฤกษ์ยามที่สร้างพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อจุลศักราช 924 จากนั้นผู้สร้างได้กล่าวถึงการถวายบ้านแด่พระพุทธรูปองค์ดังกล่าว อีกทั้งให้บุคคลนามว่า คำสน และหลานชื่อสุนทร รวมทั้งภรรยาของตนดูแลเรื่องจังหันของพระ โดยกำชับไม่ให้ลูกชายมาอยู่ที่บ้านหลังจากตนเสียชีวิตไปแล้ว หากภรรยาตายให้น้องชื่อว่า กิ และบุคคลอื่นๆ กระทำแทน ตอนท้ายมีคำสาปแช่งให้ฉิบหาย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 924 ตรงกับ พ.ศ. 2105 ในรัชกาลท้าวแม่กุ/เมกุฏิ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2101-2107) ในสมัยราชวงศ์ตองอูของพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2139) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก: |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |