1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จุลศักราชได้ 924 ตัว” ตรงกับ พ.ศ. 2105 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์ตองอูของพม่าปกครองล้านนา
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปีเต่าเส็ด” คือ ปีจอ จัตวาศก
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เดือนบุษยะ” คือ เดือนมกราคม
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “บุณมี” คือ วันเพ็ญ
5. ฮันส์ เพนธ์ : “เพ็ง” = เพ็ญ
6. ฮันส์ เพนธ์ : “เม็ง” คือ มอญ ในที่นี้หมายถึง ตามการนับแบบมอญ
7. ฮันส์ เพนธ์ : “วัน 6” คือ วันเสาร์
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กาบไจ้” เป็นชื่อวันวันหนึ่งในรอบ ๖๐ วันตามแบบไทยโบราณ
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชู่” หมายถึง ทุก เช่น ชู่ตน หมายถึง ทุกตน
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “หมื่นตุมตาม พันตุมตาม หมื่นหนังสือ พวกดาบเรือนขวา และล่าม” เป็นตำแหน่งขุนนางล้านนาในระดับกลางและระดับล่างที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย
อนึ่ง ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) ได้กล่าวถึงประวัติของวัดแห่งนี้ว่า ตามที่ทราบกันในเชียงใหม่ ชื่อเดิมของวัดหมื่นตุม
คือ วัดตุมตาม ผู้สร้างวัดมี 4 คน ได้แก่ หมื่นตุม หมื่นตาม หมื่นพราหมณ์ และหมื่นพลอย
11. ฮันส์ เพนธ์ : “หื้อ” หมายถึง ให้
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จังหัน” หมายถึง อาหาร (ใช้กับพระสงฆ์)
13. ฮันส์ เพนธ์ : “เจ้าวัด” หมายถึง เจ้าอาวาส
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) แปลเป็น “พันประตู” ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งขุนนางล้านนาที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย เข้าใจว่าคงแปลมาจาก “ตวาน” = ทวาร ซึ่งหมายถึงประตู
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกในบรรทัดที่ 5 และ 10 อยู่บริเวณฐานชั้นล่างซึ่งไม่มีภาพจารึกจึงไม่สามารถใส่สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดใต้พยัญชนะหรือสระได้
16 . พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ฉิบหายดับวายแด่” ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2519) แสดงความคิดเห็นว่า อาจเป็นคำกล่าวแช่งไม่ให้ลูกชายเข้ามาปะปนในบ้าน เพราะไม่เคยเชื่อฟังพ่อแม่ หากเข้ามาอยู่อีก ขอให้ฉิบหายดับวาย
|