โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 17:15:48 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดหัวข่วง 2 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
114 วัดหัวข่วง, ชม. 111 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2419 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
มีอักษรจารึก 19 บรรทัด ที่ด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป |
วัตถุจารึก |
ไม้จันทน์ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย |
ขนาดวัตถุ |
สูง 33 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 111” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 143-144. |
เนื้อหาโดยสังเขป |
จุลศักราช 1238 เจ้าจันทน์หอมพร้อมด้วยราชบุตร ราชธิดาและชาววังทุกคนร่วมกันสร้างพระพิมพ์ไม้จันทน์ 4 อิริยาบถ ไว้เป็นที่บูชาแก่คนและเทวดา โดยขอให้เป็นปัจจัยค้ำชูทั้งในภพนี้และภพหน้าจนกระทั่งเข้าสู่นิพพาน |
ผู้สร้าง |
เจ้าจันทน์หอม,ราชบุตรา,บุตรีและชาววังทุกคน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1238 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2419 ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2416-2439) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |