จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 2

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2566 20:40:50 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 108 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 2, 98 วัดพันเตา, ชม. 108

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2410

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้

ลักษณะวัตถุ

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 56 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 108 จารึกฐานพระพุทธรูปวัดพันเตา 2”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “98 วัดพันเตา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพันเตา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑ์หอคำ ภายในวัดพันเตา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 137-138.

ประวัติ

จารึกนี้อยู่รอบฐานพระพุทธรูปมุกเกสร คือ เกสรดอกไม้บดเป็นผงผสมรัก ปางมารวิชัย ฐานเป็นไม้ จารึกอยู่ด้านหน้าของฐานพระพุทธรูป

เนื้อหาโดยสังเขป

จุลศักราช 1229 เจ้าเสมิราพร้อมด้วยพระบิดาพระมารดาและพี่น้องในวังทุกคน ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปนามว่าพระเจ้าไกรสรเพื่อค้ำชูพระศาสนา โดยขอให้เป็นปัจจัยแก่นิพพาน

ผู้สร้าง

เจ้าเสมิรา พระบิดา พระมารดาและพี่น้อง

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ จุลศักราช 1229 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2410 ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2399-2413)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “98 วัดพันเตา,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 137-138.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)