อายุ-จารึก พ.ศ. 2044, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมืองแก้ว, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูป, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดหัวข่วง เชียงใหม่, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, บุคคล-พระมหาเถระ, บุคคล-เจ้าห้าสิบต้าเพี้ยน, บุคคล-เจ้าท้านะสี, บุคคล-เจ้าขุนขวัน,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 11:13:55 )
ชื่อจารึก |
จารึกฐานพระพุทธรูปวัดหัวข่วง 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
16 วัดหัวข่วง, ชม. 86 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา, ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 2044 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองสัมฤทธิ์ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย |
ขนาดวัตถุ |
สูง 112 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 86” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
พิมพ์เผยแพร่ |
คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 85-86. |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พ.ศ. 2044 มหาเถระเจ้ารูปหนึ่งได้ชักชวนนักบุญทั้งหลายให้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ |
ผู้สร้าง |
พระมหาเถระเจ้า และนักบุญทั้งหลายได้แก่ เจ้าห้าสิบต้าเพี้ยน เจ้าท้านะสี และ เจ้าขุนขวัน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกระบุ จ.ศ. 863 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2044 อันเป็นสมัยที่พระเมืองแก้วหรือพระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519) |