จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 22 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2473, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-เจ้าแก้วนวรัฐ, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีดำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกถ้ำเชตวัน น่าน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระระเบียง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างเจดีย์, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างกำแพง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างบันได, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระวิหาร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-สาธุเจ้าจันทญาณรังสี,

จารึกถ้ำเชตวัน

จารึก

จารึกถ้ำเชตวัน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2558 15:42:27 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 11:05:06 )

ชื่อจารึก

จารึกถ้ำเชตวัน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 2130, ศิลาจารึกถ้ำเชตวัน 1 (นน. 2130) จ.ศ. 1292 (พ.ศ. 2473)

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2473

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 19 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีดำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 42 ซม. สูง 62 ซม. หนา 2 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นน. 2130”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ถ้ำเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ถ้ำเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

พิมพ์เผยแพร่

การศึกษาและปริวรรตจารึก : จารึกพบที่อำเภอนาน้อยและอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน (กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551), 536-541.

เนื้อหาโดยสังเขป

ปี พ.ศ. 2473 สาธุเจ้าจันทญาณรังสีเป็นประธานพร้อมด้วยบิดา มารดา ญาติพี่น้อง ศิษยานุศิษย์ อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ร่วมกันสร้างถาวรวัตถุ ณ ถ้ำแห่งนี้ ประกอบด้วย พระพุทธรูป 2 องค์ เจดีย์ 1 องค์ วิหารมุงรอยพระพุทธบาท แท่นพระพุทธบาท กำแพงล้อมพระพุทธบาท และบันไดนาค ครั้นเมื่อแล้วเสร็จในปีเดียวกันจึงจัดให้มีการทำบุญและเฉลิมฉลอง โดยตั้งความปรารถนาว่ากุศลกิจกรรมที่พวกตนได้ร่วมกันกระทำครั้งนี้ จงเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาไปตราบเท่า 5,000 ปี และขอให้ได้ถึงพระนิพพาน

ผู้สร้าง

จันทญาณรังสีพร้อมด้วยบิดามารดา ญาติพี่น้อง ศิษยานุศิษย์ อุบาสกและอุบาสิกา

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากเลขศักราชที่ปรากฏในจารึกบรรทัดที่ 9 คือ “จุลศักราชได้ 1292 ตัว”ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2473

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2558, จาก :
ยุทธพร นาคสุข, “ศิลาจารึกถ้ำเชตวัน 1 (นน. 2130) จ.ศ. 1292 (พ.ศ. 2473),” ใน การศึกษาและปริวรรตจารึก : จารึกพบที่อำเภอนาน้อยและอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน (กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551), 536-541.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 19-25 มกราคม 2551