จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกู่เต้า

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกู่เต้า

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 13:30:49 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปวัดกู่เต้า

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

249 วัดกู่เต้า

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด (จารึกรอบฐานพระพุทธรูป)

วัตถุจารึก

มุก

ลักษณะวัตถุ

ฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัย

ขนาดวัตถุ

สูง 13 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 142”
2) ในหนังสือ คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ กำหนดเป็น “249 วัดกู่เต้า”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดกู่เต้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดกู่เต้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์เผยแพร่

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 205-206.

ประวัติ

พระพุทธรูปองค์นี้สร้างจาก “มุก” ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นผง กล่าวคือ การสร้างพระพุทธรูปของล้านนานอกจากใช้วัสดุประเภทสำริดและไม้ชนิดต่างๆ แล้ว ยังมีการนำดอกไม้หรือข้าวที่พระสงฆ์งดฉันเรียกว่า “ข้าวชีวิต” มาบดให้เป็นผงผสมกับรัก ซึ่งเรียกว่า มุก เช่น มุกดอกไม้ มุกข้าวชีวิต อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้มีการระบุว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างจากมุกชนิดใด

เนื้อหาโดยสังเขป

น้อยคันธิยาสร้างพระพิมพ์องค์นี้ขึ้นเพื่อบูชา โดยขอให้ตนได้ไปสู่นิพพาน

ผู้สร้าง

น้อยคันธิยา

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส.,2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “249 วัดกู่เต้า,” ใน คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519), 205-206.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519)