อายุ-จารึก พ.ศ. 2370, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระยาพุทธวงศ์, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ฉลองพระพุทธรูป, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, บุคคล-เจ้าอาวาสคันธา, บุคคล-เจ้าอาวาสคันธายะ, รองเจ้าอาวาสชู,
โพสต์เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2557 16:43:52 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 11:13:07 )
ชื่อจารึก |
จารึกเจ้าอารามคันธะ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ชม. 30 จารึกวัดศรีคำชมพู, ชม. 30 จารึกเจ้าอารามคันธะ พ.ศ. 2370 |
อักษรที่มีในจารึก |
ฝักขาม |
ศักราช |
พุทธศักราช 2370 |
ภาษา |
บาลี, ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 10 บรรทัด, ด้านที่ 1 เป็นยันต์ ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 30 จารึกวัดศรีคำชมพู” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดศรีคำชมภู ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 112-113. |
ประวัติ |
ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านแรกเป็นยันต์รูปสี่เหลี่ยม ด้านที่ 2 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปโดยเจ้าอาวาสคันธา เมื่อปี พ.ศ. 2369 และได้มีการจัดงานฉลองพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าอาวาสคันธายะ รองเจ้าอาวาสชู สามเณรทั้ง 12 รูป ตลอดจนศรัทธาทั้งหลายได้ร่วมกันสร้างกำแพงและธรรมมาสน์ขึ้นในการนี้ด้วย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ 2 บรรทัดที่ 3 ระบุจุลศักราช 1189 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2370 อันเป็นสมัยที่พระยาพุทธวงศ์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2369-2389) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551) |