จารึกวัดพูขีง

จารึก

จารึกวัดพูขีง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2567 14:46:19 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดพูขีง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 61, 92/28 จารึกวัดภูขิง, ชร. 61 จารึกวัดพูขีง พ.ศ. 2030, 1.4.1.1 วัดภูขิง พ.ศ. 2031

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2030

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 22 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 15 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 56 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 61”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย กำหนดเป็น “92/28 จารึกวัดภูขิง”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชร. 61 จารึกวัดพูขีง พ.ศ. 2030”
4) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 กำหนดเป็น “1.4.1.1 วัดภูขิง พ.ศ. 2031”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2515

สถานที่พบ

วัดพูขีง (วัดสันทราย) บ้านดงชัย กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง (ข้อมูลเดิมเป็น อำเภอเวียงชัย) จังหวัดเชียงราย

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 46-47.
2) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 47-59.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้ พบในบริเวณวัดร้าง บ้านดงชัย ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงชัย (ปัจจุบันแยกเป็น กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง) จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกวัดร้างนี้ว่า วัดสันทราย วัดร้างดังกล่าวตั้งอยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดบ้านดงชัย ห่างจากศูนย์กลางบริเวณวัดบ้านดงชัย ประมาณ 300 เมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของศูนย์กลางตัวเมืองเชียงราย 68 ห่างจากศูนย์กลางตัวเมืองเชียงราย 20.4 กม. ทางอากาศ ปัจจุบันบริเวณวัดร้างนั้น เป็นสนามหน้าบ้านพักเจ้าหน้าที่เกษตร

เนื้อหาโดยสังเขป

พ.ศ. 2030 หมื่นบง ถวายนาและคนแด่วัดพูขีง และวัดป่าตาล ซึ่ง 2 วัดนี้เป็นวัดลูกของวัดบ้านราม ห้ามรบกวนคนของวัด

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 849 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2030 อันเป็นปลายรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1984-2030) หรือต้นรัชสมัยที่พระเจ้ายอดเชียงรายปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2030-2038)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 61 จารึกวัดพูขีง พ.ศ. 2030,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 46-47.
2) ฮันส์ เพนธ์, “1.4.1.1 วัดภูขิง พ.ศ. 2031,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540), 47-59.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_6101_c และ ChR_6102_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2557
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566