จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน

จารึก

จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 18:59:49 )

ชื่อจารึก

จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พร. 2 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน พุทธศตวรรษที่ 21-23, หลักที่ 297 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน, พร. 2

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1914-1940

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 20 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวนสีเขียว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 22 ซม. สูง 35 ซม. หนา 6 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พร. 2”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “พร. 2 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน พุทธศตวรรษที่ 21-23”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 297 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/307/2550"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

จังหวัดแพร่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 6 กันยายน 2566)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 248.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 80-82.

ประวัติ

ศิลาจารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน พบที่จังหวัดแพร่ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ วันเดือนปีที่พบ ไม่ปรากฏ

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องที่จารึก เนื่องจากกลางส่วนของศิลาจารึกชำรุดหักหายไป ข้อความไม่ต่อเนื่องกันเท่าที่เหลือพอสรุปได้ คือ การบำเพ็ญธรรมเพื่อทำใจให้ตั้งอยู่ในทางที่ชอบที่ดี จนได้เห็นกระแสแห่งธรรม คือ “นิพพาน”

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปอักษรที่ใช้เหมือนกับรูปอักษรในจารึกสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1914-1940 ดังปรากฏว่า ตัว ก มีรูปอย่างที่ใช้ใน พ.ศ. 1914 และมีตัว ฃ กับ ร ซึ่งมีรูปที่ใช้กันมาจนถึง พ.ศ. 1914

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศมส., 2546, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “พร. 2 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน พุทธศตวรรษที่ 21-23,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 248.
2) เทิม มีเต็ม, “หลักที่ 297 จารึกแสดงผลกรรมนำสู่นิพพาน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 80-82.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-30, ไฟล์; พร.2.รูป1)