จารึกบนแผ่นไม้สักที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก

จารึก

จารึกบนแผ่นไม้สักที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2566 11:27:10 )

ชื่อจารึก

จารึกบนแผ่นไม้สักที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

พล. 5, หลักที่ 144 จารึกบนแผ่นไม้สัก ที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2386

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 11 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้สักสีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 118 ซม. สูง 41 ซม. หนา 2.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. 5”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 144 จารึกบนแผ่นไม้สัก ที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 35-37.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ในพ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 144 จารึกบนแผ่นไม้สัก ที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก”

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและวิหารพระชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก คือ เมื่อ พ.ศ. 2376 จีนหลวงอุดมไมตรีได้ทำการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จากนั้นมีศรัทธาที่จะปฏิสังขรณ์วิหารพระชินราช จึงเรียนเจ้าเมืองให้บอกไปยังกรุงเทพมหานคร เพราะวัดดังกล่าวเป็นวัดหลวง เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ จีนหลวงอุดมไมตรี จัดการปฏิสังขรณ์ได้ จึงเริ่มทำการเมื่อ พ.ศ. 2380 โดยแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2386 ตอนท้ายตั้งความปรารถนาขอให้ตนสำเร็จพระนิพพาน

ผู้สร้าง

จีนหลวงอุดมไมตรี

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชท้ายสุดที่ปรากฏในจารึกคือ “ปีเถาะ เบญจศก” ซึ่ง ประสาร บุญประคอง ได้คำนวณไว้ว่า ตรงกับ พ.ศ. 2386 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 144 จารึกบนแผ่นไม้สัก ที่พิพิธภัณฑ์ฯ พิษณุโลก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 35-37.
2) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).
3) สมัย สุทธิธรรม, พิษณุโลก (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2541)

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517)