ยุคสมัย-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, วัตถุ-จารึกบนทองคำ, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้า, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างสถูป, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บรรจุพระธาตุ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 2, บุคคล-พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:25:56 )
ชื่อจารึก |
จารึกลานทอง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สพ. 5 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 24 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ทองคำ |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะเดียวกับใบลาน |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 11.5 ซม. ยาว 58 ซม. หนัก 128.5 กรัม (มีการจารเป็นลวดลายกนกเครือเถาบริเวณขอบทั้ง 4 ด้าน) |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สพ. 5” |
ปีที่พบจารึก |
สมัยรัชกาลที่ 6 |
สถานที่พบ |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ผู้พบ |
พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 75-76. |
ประวัติ |
ใน พ.ศ. 2456 (สมัยรัชกาลที่ 6) มีการลักลอบนำโบราณวัตถุขึ้นมาจากกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้นจึงแต่งตั้งคณะกรรมการไปควบคุมการขุดกรุ ได้แก่ ขุนบวรเวชกิจ แพทย์จังหวัด นายเสถียร (ไม่ทราบนามสกุล) แพ่ง ขุนวิมล ธุระประมาณ สุขาภิบาล และ นายเปล่ง สุพรรณโรจน์ ได้พบลานทองจารึกจำนวน 4 แผ่น พร้อมทั้งพระอีกจำนวนมาก ต่อมา มีการถวายแด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา และเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2526 เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้สำรวจและคัดจำลองอักษรจากจารึกดังกล่าว |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระราชาองค์หนึ่งโปรดให้สร้างสถูปและบรรจุพระบรมธาตุ ต่อมาพระโอรสของกษัตริย์พระองค์นั้นได้ทำการปฏิสังขรณ์และบรรจุพระบรมธาตุรวมทั้งบูชาด้วยเครื่องบูชาต่างๆ เช่น ทองคำ โดยตั้งความปรารถนาขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ? |
การกำหนดอายุ |
หอสมุดแห่งชาติสันนิษฐานว่าน่าจะจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24 โดยพิจารณาจากลักษณะรูปอักษร นายคงเดช ประพัฒน์ทอง ผู้แปลคำจารึกได้อธิบายไว้ว่า จารึกนี้ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) กล่าวถึงพระเจดีย์ที่ทรงสร้าง ซ่อมเจดีย์องค์เดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสร้างไว้ อย่างไรก็ตามได้มีผู้คัดค้านความคิดนี้โดยแสดงความเห็นว่า เจดีย์องค์นี้น่า จะถูกสร้างขึ้นก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา โดยใช้หลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะอ้างอิง แต่ผู้สร้างจารึกน่าจะเป็นบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่ใช่กษัตริย์และพระโอรสที่ถูกอ้างถึงในจารึก เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่วิสัยของกษัตริย์ที่จะยกย่องตนเองดังที่ปรากฏในจารึก ข้อคิดเห็นดังกล่าวตีพิมพ์ในบทความชื่อ “ลานทองจารึกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี” โดย มนัส โอภากุล ใน วารสารศิลปวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ. 2533 ต่อมา ศ. ดร. สันติ เล็กสุขุม ได้กำหนดอายุของเจดีย์องค์ดังกล่าวไว้ในหนังสือ ศิลปะอยุธยา ซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2542 ว่าเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ที่มีอายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 20 อนึ่ง ใน พ.ศ. 2456 (สมัยรัชกาลที่ 6) มีการจารึกคำแปลของจารึกลานทองนี้ลงในแผ่นหินชนวน (ดูรายละเอียดได้ใน “จารึกบนแผ่นหินชนวน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี”) ในคำแปลดังกล่าวปรากฏคำว่า “กรุงโยชราช” ซึ่ง ประสาร บุญประคอง ได้แสดงความเห็นว่าน่าจะหมายถึง กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ในคำอ่าน-แปลครั้งแรกของจารึกลานทองนี้ ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ได้แปลว่า “อโยธยา” อย่างไรก็ตาม ในฐานข้อมูลนี้ ได้กำหนดอายุโดยยึดตามข้อมูลที่มีการตีพิมพ์ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 ซึ่งเป็นการกำหนดอายุจากรูปอักษร หอสมุดแห่งชาติกำหนดอายุโดยสันนิษฐานจากรูปอักษรว่าน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 24 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |